แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ รหัส ๓๐๐๐-๑๑๐๑ จำนวนชั่วโมง (หน่วยกิต) ๓(๓)
ระดับ ปวส. ทุกสาขาวิชาชีพ รวมทฤษฎี/ปฏิบัติ ๕๔ ชั่วโมง/ภาคเรียน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จุดประสงค์รายวิชา
๑. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
๒. เพื่อให้สามารถนำภาษาไทยไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารงานอาชีพและการดำเนินชีวิต
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. เพื่อให้เห็นคุณค่า ความงดงามของภาษาไทยและวรรณกรรมไทย
มาตรฐานรายวิชา
๑. เลือกใช้ภาษาไทยอย่างมีศิลปะ ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กาลเทศะ บุคคลและโอกาส
๒. วิเคราะห์และประเมินค่าสารที่ได้จากการฟัง การดู การอ่าน และนำเสนอข้อมูลอย่าง
มีระบบ
๓. ใช้กระบวนการเขียน การพูด รูปแบบต่าง ๆ สื่อสารในงานอาชีพได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และมีคุณธรรม
๔. แยกแยะเนื้อหาสาระ คติ คุณธรรม ค่านิยม ที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำมาประยุกต์ใช้งานอาชีพและการดำเนินชีวิตได้
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับการใช้ภาษา สื่อสารอย่างมีศิลปะ ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กาลเทศะ บุคคล และโอกาส วิเคราะห์ ประเมินค่าสารจากการฟัง การดู การอ่าน การนำเสนอข้อมูลในเชิงให้ความรู้ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และวิจารณ์อย่างมีเหตุผล การพูดที่ใช้งานอาชีพ และในโอกาสต่าง ๆ ของสังคม การเขียนจดหมายที่จำเป็นต่องานอาชีพ การใช้ภาษาไทยในการเขียนประชาสัมพันธ์ และเขียนโฆษณา เขียนรายงาน เขียนโครงการ และบทร้อยกรองเพื่องานอาชีพ ศึกษาวรรณกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และเกิดประโยชน์ในงานอาชีพและการดำเนินชีวิต
วิชา ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ รหัส ๓๐๐๐-๑๑๐๑ จำนวนชั่วโมง (หน่วยกิต) ๓(๓)
สัปดาห์ที่ |
ชื่อบทเรียน/หัวข้อ |
จำนวนชั่วโมง |
๑ |
ปฐมนิเทศ - ความสำคัญของรายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ - คำอธิบายรายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ - สาระการเรียนรู้รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ - ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง - การวัดผลและประเมินผล - ทำความรู้จัก และสร้างความคุ้นเคยกับผู้เรียน |
๓ |
๒ |
บทที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับคำและลักษณะคำที่ใช้ในภาษาไทย - ความรู้เรื่องคำ - ลักษณะที่สำคัญของภาษาไทย - ลักษณะคำที่ใช้ในภาษาไทย |
๓ |
๓ |
บทที่ ๒ การเขียนและการอ่านคำที่ใช้ในภาษาไทย - การเขียนสะกดคำ - การอ่านคำไทย - ปัจจัยที่ช่วยให้เขียนคำได้ถูกต้อง |
๓ |
๔ |
บทที่ ๓ การเรียบเรียงถ้อยคำ - กลุ่มคำ หรือวลี - ประโยค - ย่อหน้า - สำนวนโวหาร |
๓ |
๕ |
บทที่ ๔ การวิเคราะห์และสังเคราะห์สาร - การวิเคราะห์และวินิจสาร - การสังเคราะห์สาร |
๓ |
สัปดาห์ที่ |
ชื่อบทเรียน/หัวข้อ |
จำนวนชั่วโมง |
๖-๗ |
บทที่ ๕ การเขียนโครงการ - ความหมายและความสำคัญของโครงการ - กระบวนการของโครงการ - ประเภทของโครงการ - ส่วนประกอบของโครงการ - วิธีเขียนโครงการ - ลักษณะโครงการที่ดี - วิธีเขียนโครงการให้น่าอ่านและได้รับการอนุมัติ |
๖ |
๘-๙ |
บทที่ ๖ การพูดต่อที่ประชุมชน และการพูดในโอกาสต่าง ๆ - การพูดต่อที่ประชุมชน - การพูดในโอกาสต่าง ๆ |
๖ |
๑๐ |
บทที่ ๗ การเขียนรายงานเพื่อประโยชน์ในงานอาชีพ - รายงานทางธุรกิจ - รายงานทางวิชาการ |
๓
|
๑๑ |
บทที่ ๘ การเขียนรายงานการประชุม - ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประชุม - การเขียนรายงานการประชุม |
๓ |
๑๒ |
บทที่ ๙ การเขียนจดหมายเพื่อประโยชน์ในงานอาชีพ - การเขียนจุดหมายกิจธุระ - การเขียนจดหมายธุรกิจ - การใช้ภาษาในการเขียนจดหมาย - มารยาทในการเขียนจดหมาย |
๓ |
สัปดาห์ที่ |
ชื่อบทเรียน/หัวข้อ |
จำนวนชั่วโมง |
๑๓ |
บทที่ ๑๐ การเขียนข้อความโฆษณา - ความหมายของการโฆษณา - องค์ประกอบของการโฆษณา - จุดมุ่งหมายและหลักการของโฆษณา - กลวิธีการโฆษณา - โครงสร้างของข้อความโฆษณา - ลักษณะข้อความโฆษณาที่ดี |
๓ |
๑๔ |
บทที่ ๑๑ การเขียนบทความและการจัดทำสูจิบัตร - การเขียนบทความ - การจัดทำสูจิบัตร |
๓ |
๑๕ |
บทที่ ๑๒ การเขียนบทร้อยกรอง - ความหมายของบทร้อยกรอง - ประเภทของบทร้อยกรอง - ลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง - บทร้อยกรองที่นิยมใช้ในงานอาชีพ - การเขียนบทร้อยกรองเพื่อประโยชน์ในงานอาชีพ - การแต่งบทร้อยกรองและกลวิธีในการเขียนบทร้อยกรองให้ไพเราะ
|
๓ |
๑๖-๑๗ |
บทที่ ๑๓ วรรณกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น - วรรณกรรมพื้นบ้าน - ภูมิปัญญาท้องถิ่น - การเล่นทายโจ๊กภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี |
๖ |
๑๘ |
สอบปลายภาคเรียน |
๓ |
รวม |
๕๔ |