Course Out Line
แผนการสอนรายวิชา
แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
------------------------------------------------------------------------------------------------
รหัสวิชา 3104-2008 การส่งและจ่ายไฟฟ้า 3ชั่วโมง 3 หน่วยกิต
(Transmission Line and Distribution)
สาขาวิชา ไฟฟ้ากำลัง สาขางาน ติดตั้งไฟฟ้า
อาจารย์ผู้สอน นาย ขวัญชัย สงวนพงษ์ การศึกษา ปริญญาโท (คอ.ม.)
เบอร์โทรศัพท์ 081-3400930 E-mail au2519@hotmail.com
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาระบบการส่งและจ่ายไฟฟ้า อุปกรณ์และวงของระบบส่งและจ่ายไฟฟ้า การหาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ การหาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและแรงดันของระบบสายส่งระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว การหาแรงดึงและระยะหย่อนของสายไฟฟ้า การคำนวณค่าเปอร์ยูนิต
มาตรฐานรายวิชา
1. เข้าใจระบบการส่งและจ่ายไฟฟ้า อุปกรณ์ และวงจรของระบบส่งและจ่ายไฟฟ้า
2. คำนวณค่าพารามิเตอร์ต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและแรงดันไฟฟ้าของสายส่งไฟฟ้า
3. คำนวณหาแรงดึง และระยะหย่อนของสายส่งและเปอร์ยูนิต
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจระบบการส่งและจ่ายไฟฟ้า อุปกรณ์และระบบการส่งและจ่ายไฟฟ้า
2. เพื่อให้สามารคำนวณพารามิเตอร์ต่างๆ ของระบบไฟฟ้า
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบ และปลอดภัย มีความตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในการสรุปรายงานผลและนำเสนอ
เนื้อหารายวิชาและแผนการเรียน
สัปดาห์ที่ |
หน่วย (Unit) |
หัวเรื่อง (Topics) |
หมายเหตุ |
1
|
@ ความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิตและการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า |
- ประวัติความเป็นมา - ระบบไฟฟ้ากำลัง - องค์การหลักในระบบการผลิต |
|
|
@ ส่วนประกอบของระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า |
- เขตเดินสายไฟฟ้า - เสาไฟฟ้า - สายไฟฟ้า - ส่วนประกอบอื่น |
|
|
@โรงไฟฟ้าต้นกำลัง |
- โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ - โรงไฟฟ้าหลังงานความร้อน - โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส - โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม - โรงไฟฟ้าพลังงานดีเซล - โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน |
|
2 |
@อิมพีแดนซ์อนุกรม |
- ความนำไฟฟ้า - ความต้านทาน - สกินเอฟเฟค - โคโรน่า |
|
|
@ค่าความเหนี่ยวนำของสายส่ง |
- ค่าความเหนี่ยวนำในสายตัวนำเดี่ยว - ค่าความเหนี่ยวนำในระบบไฟฟ้า 1 เฟส - ค่าความเหนี่ยวนำชนิดกลุ่ม ตัวนำย่อย - ค่าความเหนี่ยวนำของสายแบบตีเกลียว - ค่าความเหนี่ยวนำในระบบ 3 เฟส |
|
3 |
@ค่าความจุไฟฟ้าของสายส่ง |
- ความจุไฟฟ้าของระบบสายส่งสองสาย - ความจุไฟฟ้าสายส่ง 1 เฟส - ความจุไฟฟ้าโดยใช้ตาราง - ความจุไฟฟ้าในสายตัวนำควบ - ความจุไฟฟ้าในระบบ 3 เฟส |
|
4 |
@ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและแรงดันไฟฟ้าของสายส่งไฟฟ้า |
- ระบบสายส่งระยะสั้น - ระบบสายส่งระยะปานกลาง - ระบบสายส่งระยะยาว |
|
กิจกรรมการเรียนการสอน
1.นักศึกษาทำรายงานเรื่องโรงต้นกำลังเพื่อฝึกการทำเอกสารให้ถูกต้องและมีเนื้อหาที่เกิดประโยชน์กับนักศึกษาและสอดคล้องกับรายวิชา
2.นักศึกษาเสนอรายงานเพื่อฝึกการพูดการนำเสนอ ความเป็นผู้นำและการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
3.นักศึกษาฝึกวิเคราะห์และแก้ปัญหาจากสถานการณ์สมมติ
4.นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
5.ให้แบบฝึกหัดทบทวนเพื่อฝึกทักษะ
งานที่มอบหมาย
งานรายบุคคล
สมุดจด และแบบฝึกหัดท้ายชั่วโมง
การประเมินผลการเรียน
1. ข้อมูลประกอบการประเมิน
1.1 สมุดจดประวิชา ร้อยละ 10
1.2 แบบฝึกหัดท้ายชั่วโมง ร้อยละ 10
1.3 คุณธรรม จริยธรรม ร้อยละ 30
1.4 ประมวลผลรายวิชา ร้อยละ 50
2. เกณฑ์การประเมินผล
ผลการเรียน 4.0 ได้คะแนนระหว่าง 80-100 คะแนน
ผลการเรียน 3.5 ได้คะแนนระหว่าง 75-79 คะแนน
ผลการเรียน 3.0 ได้คะแนนระหว่าง 70-74 คะแนน
ผลการเรียน 2.5 ได้คะแนนระหว่าง 65-69 คะแนน
ผลการเรียน 2.0 ได้คะแนนระหว่าง 60-64 คะแนน
ผลการเรียน 1.5 ได้คะแนนระหว่าง 55-59 คะแนน
ผลการเรียน 1.0 ได้คะแนนระหว่าง 50-54 คะแนน
ผลการเรียน 0.0 ได้คะแนนระหว่าง 80-100 คะแนน
เอกสารและตำราที่ใช้ในการประกอบการสอนและนักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ชัด อินทะสี. 2540. การส่งและจ่ายกำลังไฟฟ้า.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนารัชต์ ภมรรัชตพงษ์. 2544. การส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าเบื้องต้น.กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซนเตอร์.
ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล. 2535. พื้นฐานระบบไฟฟ้า. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล. 2535. ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแรงสูง. กรุงเทพฯ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Willam D. Stevenson,Jr. 1982. Element of Power System Analysis. Mcgraw-Hill.