โครงการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่และป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา. โดยพันธ์ศักดิ์ พลอินทร์
โครงการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่และป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของบุหรี่และยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น |
- ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน -ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้ - ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา |
|
๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่และยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา |
๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองสูบบุหรี่และเสพยาเสพติด |
๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม |
๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อม ไปสู่ชีวิตของตนเอง |
๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล |
๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต |
๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น |
๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็น สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง
|
|
วัตถุประสงค์
1. ผลผลิต
1.1 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังนักเรียนไม่ยุ้งเกี่ยวกับบุหรี่และสารเสพติด
1.2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมในเรื่องการแสดงออกในทางสร้างสรรค์
1.3 เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และสารเสพติดแก่นักเรียน
1.4 เพื่อให้วิทยาลัยปลอดจากบุหรี่และสารเสพติด
2. ผลลัพธ์
นักเรียนไม่ยุ้งเกี่ยวกับบุหรี่และสารเสพติด วิทยาลัยปลอดจากบุหรี่และสารเสพติด เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม
ปัญหาและความต้องการ
ปัญหา
- นักเรียนเป็นวัยที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น อยากรู้ อยากลอง
- นักเรียนในซึ่งมาจากหลายหมู่บ้าน ได้เพื่อนใหม่อาจก่อให้เกิดการซักนำไปในทางที่ผิด
- นักเรียนในระดับปวช.อาจถูกรุ่นพี่ชักนำให้เข้าสู่อบายมุขต่าง ๆ
ความต้องการ
- ให้วิทยาลัยและชุมชนเป็นเขตปลอดบุหรี่และสารเสพติด ให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
- ครู ผู้ปกครอง ชุมชน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชนในทุกด้าน
แผนการดำเนินงาน
วิทยาลัยได้ดำเนินงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาของบุหรี่และสารเสพติด โดยการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2554 ดังนี้
กิจกรรมตามแผนการดำเนินงาน
จำแนกเป็น 3 มาตรการ คือ มาตรการป้องกัน มาตรการแก้ไข มาตรการบำบัดรักษาและฟื้นฟู ดังนี้
มาตรการที่ 1 มาตรการป้องกัน
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต โดยการจัดกิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมทางการศึกษา
1) กำหนดเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันบุหรี่และสารเสพติดโดยการสอดแทรกในบทเรียนวิชาต่าง ๆ โดยการบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวัน
2) จัดตั้งชมรมต่อต้านบุหรี่และยาเสพติด
3) จัดอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องน้ำ มิให้เป็นสถานที่ที่นักเรียนไปลักลอบสูบบุหรี่และเสพสารเสพติดได้
กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสาร สร้างความตระหนักต่อปัญหาและ รู้จักปฏิบัติตนในการป้องกันบุหรี่และสารเสพติด โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1) จัดป้ายนิเทศในชั้นเรียนและป้ายนิเทศหน้าห้องเรียน
2) จัดกิจกรรมเสียงตามสายในวิทยาลัย
3) อบรมหน้าเสาธง
4) รณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในวันต่อต้านยาเสพติดสากล
5) ประชาสัมพันธ์โทษของยาเสพติดในข่าวสารประจำวิทยาลัย
6) ให้ความรู้ แก่ผู้ปกครองนักเรียนในวันปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียนก่อนเปิดภาคเรียน
กิจกรรมทางเลือก
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งร่างกาย อารมณ์และสังคม ให้แก่ผู้เรียนโดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1) ด้านสุขภาพอนามัย ได้กำหนดกิจกรรมดังนี้
- จัดการแข่งขันกีฬาภายใน
- ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการเล่นกีฬา ดนตรี
- ตรวจสุขภาพนักเรียนโดยครูทุกวันโฮมรูม
- ดำเนินการตามโครงการบริการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
2) ด้านจริยธรรม ได้กำหนดกิจกรรมดังนี้
- ดำเนินการตามโครงการส่งเสริมจริยธรรมสำหรับนักเรียน โครงการอบรมเข้าค่ายคุณธรรม จริยธรรม
- กิจกรรมนั่งสมาธิ
- การเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น ตามหลักสูตรท้องถิ่น
3) ด้านสังคม ได้กำหนดกิจกรรมดังนี้
- จัดตั้งชมรมบำเพ็ญประโยชน์ในวิทยาลัย
- ดำเนินการตามโครงการโครงการประชาธิปไตยและวินัยนักเรียน
4) ด้านฝึกอาชีพ ได้กำหนดกิจกรรมดังนี้
- จัดกิจกรรมวิชาชีพเช่น ช่างเชื่อม ช่างปูน เพื่อหารายได้ระหว่างเรียน
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนสามารถผลิตผลงานที่สามารถจำหน่ายเป็นรายได้
มาตรการที่ 2 มาตรการแก้ไข
เป็นมาตรการที่ใช้กับผู้เรียนที่เริ่มมีปัญหาการใช้สารเสพติด โดยยังไม่ติดสารเสพติด มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สารเสพติด และพฤติกรรมอื่น ๆ โดยมีการดำเนินงานดังนี้
ดำเนินการตามประกาศ เรื่อง มาตรการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2554
1) ห้ามนักเรียนเสพสารเสพย์ติดและนำสารเสพย์ติดทุกชนิดเข้ามาในสถานศึกษา
2) จัดให้มีกิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด
3) ให้ครูเวร ครูประจำชั้น ครูประจำวิชาทุกคน ตลอดจนนักการภารโรง มีหน้าที่สอดส่องดูแลมิให้มีการเสพ การนำสารเสพย์ติดเข้ามาในสถานศึกษา โดยถือเป็นหน้าที่ที่ต้องดำเนินการและรายงานผู้บริหารทุกครั้งเมื่อทราบ และให้ถือเป็นความลับของทางราชการที่จะให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้ได้
4) ให้ครูผู้รับผิดชอบงานกิจการนักเรียนมีหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการประกันความปลอดภัยและโครงการโรงเรียนสีขาว
5) ให้มีคณะกรรมการนักเรียนมีหน้าที่ดูแลสอดส่องและป้องกันสารเสพย์ติดในสถานศึกษา ในรูปอาสาสมัคร
6) ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง นักเรียนในวันปฐมนิเทศ ปีละ 1 ครั้ง
7) เชิญผู้ปกครองนักเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเสพย์ติดมาปรึกษาหารือ และหาแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหาร่วมกับวิทยาลัย
8) อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับโทษ พิษภัยของยาเสพย์ติด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
9) ส่งนักเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเสพย์ติดไปบำบัดยังสถานบำบัดของรัฐ
10) ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการปราบปราบยาเสพย์ติดให้โทษ
- ป้องปราม เข้มงวดในการตรวจค้นเพื่อป้องกัน การลักลอบนำสารเสพติดเข้ามาในสถานศึกษาและการสุ่มตรวจปัสสาวะผู้เรียนกลุ่มเสี่ยง
- อบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาบุคลากรที่ดำเนินงานป้องกันสารเสพติด
- การพัฒนาแนวทางและสร้างความเข้าใจนโยบายและการจัดกิจกรรมเสริมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
มาตรการที่ 3 มาตรการบำบัดรักษาและฟื้นฟู
เป็นมาตรการที่ใช้กับผู้เรียนที่ติดสารเสพติด เพื่อที่จะลดจำนวนผู้เสพสารเสพติดลง หรือลดผลกระทบจะเกิดขึ้นแก่สถานศึกษา ครอบครัวและชุมชน โดยการดำเนินการดังนี้
สำรวจข้อมูลนักเรียนแยกประเภทนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่ติดสารเสพติด กลุ่มทดลองแต่ไม่ติด กลุ่มที่มีพฤติกรรมมีแนวโน้มที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวสารเสพติด และกลุ่มปกติ
1) สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องว่า “ผู้ติดสารเสพติดเป็นผู้ป่วยที่ต้องการบำบัดรักษาที่ถูกต้องทั้งร่างกายและจิตใจ” และโดยธรรมชาติของผู้ติดสารเสพติด จะมีพฤติกรรมเลิกแล้วกลับไปเสพใหม่อีกซ้ำหลายครั้ง ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและฟื้นฟูจิตใจ จึงต้องใช้เวลานานหลายครั้งเช่นกัน
2) ประสานกับครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลและแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด
3) ส่งไปบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อรับการบำบัดรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ประชุมปรึกษาหารือเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงาน ปีการศึกษา 2554
- มอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ
- จัดทำโครงการต่อเนื่อง
- ดำเนินงานตามโครงการ
- รายงานผลการดำเนินโครงการเป็นระยะ ๆ และต่อเนื่อง
- นิเทศ กำกับ ติดตาม
- สรุปและประเมินผลโครงการ
- รายงานผลโครงการ
ระยะเวลาการดำเนินงาน
ที่ |
กิจกรรม |
ระยะเวลาดำเนินการ |
ผู้รับผิดชอบ |
1. |
ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ |
มิถุนายน 2554 |
ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู |
2. |
ประชุมปรึกษาหารือคณะครู |
มิถุนายน 2554 |
ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู |
3. |
แต่งตั้งครูรับผิดชอบทำโครงการ/แผนงาน |
มิถุนายน 2554 |
ผู้บริหารสถานศึกษา |
4. |
จัดทำแผนการป้องกันปัญหายาเสพติด |
มิถุนายน 2554 |
กรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง |
5. |
ดำเนินงานตามแผน |
กค.54 – กย. 54 |
คณะกรรมการควบคุม |
6. |
ควบคุม กำกับ ติดตาม |
ตค.54 – ธค. 54 |
ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการที่แต่งตั้ง |
7. |
สรุปประเมินผลการดำเนินงาน |
ม.ค. 55 และ กพ. 55 |
ผู้บริหาร / ครูผู้ได้รับมอบ |
8. |
รายงานผลระหว่างการดำเนินงาน |
เม.ย. 2555 |
ครูผู้รับผิดชอบ |
งบประมาณ
งบอุดหนุนโครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ
การประเมินผล
ประเมินผลจากความสำเร็จของโครงการโดยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถาม การรายงานผลโครงการและการประเมินผลโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- นักเรียนทุกคนได้รับความปลอดภัยจากบุหรี่และสารเสพติด เรียนรู้อย่างมีความสุข
- ผู้ปกครอง ชุมชน ให้การสนับสนุน ร่วมมือ ช่วยเหลือวิทยาลัยและเห็นความสำคัญของการป้องกันและแก้ไขปัญหาของบุหรี่และสารเสพติดในสถานศึกษา
งานปกครองวิทยาลัย เจ้าของโครงการ
นายพันธ์ศักดิ์ พลอินทร์ ผู้เขียนโครงการ