ออกแบบระบบแสงสว่าง

การประยุกต์การใช้งาน

          การส่องสว่างภายในอาคารสำนักงาน บ้านอยู่อาศัย โรงแรม  โรงพยาบาล  โรงเรียน สามารถประหยัดพลังงานแสงสว่างได้มากเมื่อเทียบกับการส่องสว่างภายในอย่างอื่น การส่องสว่างภายในอาคารมีความสำคัญสองประการ คือ การให้แสงสว่างเพื่อใช้งานได้สะดวกสบาย และ การให้แสงเพื่อให้เกิดความสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นการส่องสว่างแบบใดก็ตามก็ต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงานแสงสว่างด้วยสำหรับในยุคปัจจุบันที่พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นและหายากยิ่ง

          เนื้อหาที่กล่าวถึงในบทนี้มีความประสงค์ให้ศึกษาแสงสว่างเพื่อการใช้งานแต่ละสถานที่ว่าประกอบด้วยแสงสว่างเพื่อการใช้งานแต่ละประเภทอย่างไร เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้หรือเลือกใช้เพื่อการประหยัดพลังงานอย่างถูกต้อง เพราะการประหยัดพลังงานแสงสว่างที่ถูกต้อง ต้องไม่ให้เกิดความสูญเสียทางด้านอื่นด้วย เช่น ประหยัดพลังงานแล้วทำให้ธุรกิจสูญเสียรายได้จำนวนมาก หรือประหยัดพลังงานแล้วทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในการทำงานที่ทำให้เกิดอันตรายสูง เป็นต้น ดังนั้นเนื้อหาการประยุกต์ใช้งานในบทนี้เปรียบเสมือนการกล่าวถึงการให้แสงสว่างที่มีทั้งการให้ความส่องสว่างมากพอสำหรับการทำงาน การให้แสงสว่างเพื่อความสวยงามด้วย ดังนั้นผู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความประหยัดพลังงานก็ต้องพิจารณาเลือกใช้เพื่อให้เข้ากับการงานของตนเอง

การส่องสว่างภายในเพื่อให้ใช้งานได้นั้น หมายถึง ต้องให้ได้ระดับความส่องสว่างอยู่ในเกณฑ์ที่ทำงานได้โดยไม่ต้องทำให้เพ่งสายตามากเกินไป  ส่วนการส่องสว่างให้เกิดความสวยงามนั้นก็ต้องอาศัยความมีศิลป์ในตัวเพื่อพิจารณาในแง่การให้แสงแบบเอฟเฟค (Effect Lighting) หรือการให้แสงแบบส่องเน้น (Accent Lighting)

ระบบการให้แสงสว่างนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานของห้อง  ผู้อยู่ในห้อง การมองเห็น  และสไตล์การตกแต่ง ระบบการให้แสงสว่างโดยพื้นฐานประกอบด้วย ระบบการให้แสงหลัก (Primary Lighting System)  และระบบการให้แสงรอง (Secondary Lighting System)

          ระบบการให้แสงหลัก  ซึ่งหมายถึงแสงสว่างพื้นฐานที่ต้องใช้เพื่อการใช้งานซึ่งแยกออกได้เป็นระบบต่างๆดังนี้

ก) แสงสว่างทั่วไป (General Lighting) คือ การให้แสงกระจายทั่วไปเท่ากันทั้งบริเวณพื้นที่ใช้งาน ซึ่งใช้กับการให้แสงสว่างไม่มากเกินไป แสงสว่างดังกล่าวไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงามมากนัก ดังนั้นการประหยัดพลังงานสามารถทำได้ในแสงสว่างทั่วไปนี้

ข) แสงสว่างเฉพาะที่ (Localized Lighting)  คือ การให้แสงสว่างเป็นบางบริเวณเฉพาะที่ทำงานเท่านั้น  เพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยไม่ต้องให้สม่ำเสมอเหมือนแบบแรก เช่น การให้แสงสว่างจากฝ้าเพดานโดยติดตั้งเฉพาะเหนือโต๊ะหรือบริเวณใช้งานให้ได้ความส่องสว่างตามต้องการ การให้แสงสว่างลักษณะนี้ประหยัดกว่าแบบ ก) ข้างต้น

ค) แสงสว่างเฉพาะที่และทั่วไป (Local Lighting + General Lighting) คือ การให้แสงสว่างทั้งแบบทั่วไปทั้งบริเวณ และเฉพาะที่ที่ทำงาน  ซึ่งมักใช้กับงานที่ต้องการความส่องสว่างสูงซึ่งไม่สามารถให้แสงแบบแสงสว่างทั่วไปได้เพราะเปลืองค่าไฟฟ้ามาก  เช่น การให้แสงสว่างจากฝ้าเพดานเพื่อส่องบริเวณทั่วไป และที่โต๊ะทำงานติดโคมตั้งโต๊ะส่องเฉพาะต่างหากเพื่อให้ได้ความส่องสว่างสูงมากตามความต้องการของงาน

ระบบการให้แสงสว่างหลัก คือ การออกแบบระบบแสงสว่างให้มี

ความส่องสว่างเพียงพอตามมาตรฐานเพื่อการใช้งานในแต่ละพื้นที่นั้นๆ

 

          ระบบการให้แสงรอง หมายถึงการให้แสงนอกเหนือจากการให้แสงหลักเพื่อให้เกิดความสวยงามเพื่อความสบายตา ซึ่งแยกออกได้ดังนี้

ก)  แสงสว่างแบบส่องเน้น (Accent Lighting) เป็นการให้แสงแบบส่องเน้นที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งเพื่อให้เกิดความสนใจ  โดยทั่วไปแสงประเภทนี้ได้มาจากแสงสปอต

ข) แสงสว่างแบบเอฟเฟค (Effect Lighting) หมายถึงแสงเพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าสนใจ  แต่ไม่ได้ส่องเน้นวัตถุเพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่นโคมที่ติดตั้งที่เพดานเพื่อสร้างรูปแบบของแสงที่กำแพง เป็นต้น

ค) แสงสว่างตกแต่ง (Decorative Lighting) เป็นแสงที่ได้จากโคมหรือหลอดที่สวยงามเพื่อสร้างจุดสนใจในการตกแต่งภายใน

ง)   แสงสว่างงานสถาปัตย์ (Architectural Lighting) บางทีก็เรียก Structural Lighting ให้แสงสว่างเพื่อให้สัมพันธ์กับงานทางด้านสถาปัตยกรรม  เช่น การให้แสงไฟจากหลืบ  การให้แสงจากบังตา หรือการให้แสงจากที่ซ่อนหลอด

จ) แสงสว่างตามอารมณ์ (Mood Lighting) แสงสว่างประเภทนี้ไม่ใช่เทคนิคการให้แสงพิเศษแต่อย่างใด  แต่อาศัยการใช้สวิตช์หรือตัวหรี่ไฟเพื่อสร้างบรรยากาศของแสงให้ได้ระดับความส่องสว่างตามการใช้งานที่ต้องการ

ระบบการให้แสงสว่างรอง คือ การออกแบบให้มีแสงสว่างให้เกิด

ความสวยงาม หรือเน้นเพื่อให้เกิดความสนใจ  สบายตา และอารมณ์

          ระบบการให้แสงสว่างหลัก หมายถึงการให้แสงสว่างให้เพียงพอเพื่อการใช้งาน เช่น ห้องทำงานต้องให้ความสว่างที่โต๊ะทำงานให้มีความส่องสว่างอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 500 ลักซ์ เป็นต้น  เมื่อได้ความส่องสว่างที่โต๊ะทำงานแล้วบริเวณที่เหลือ เช่นการส่องสว่างที่ผ้าม่านเพื่อให้เกิดวงแสงหรือรูปแบบของแสง หรือการส่องสว่างเน้นที่ต้นไม้ที่ปลูกในกระถางภายในห้องก็เป็นแสงสว่างรอง คือ เป็นการให้แสงเพื่อความสวยงาม เป็นต้น

การให้แสงสว่างที่ดี ควรมีทั้งระบบการให้แสงสว่างหลักและแสงสว่างรอง

 

5.1 การส่องสว่างในบ้านอยู่อาศัย อพาร์ตเมนต์ และ โรงแรม

การส่องสว่างภายในบ้านอยู่อาศัย อพาร์ตเมนต์ และโรงแรม ไม่จำเป็นต้องให้มีแสงสว่างสม่ำเสมอ การให้แสงสว่างต้องระวังในเรื่องของความสวยงามประกอบด้วย เพราะบางครั้งการเน้นในเรื่องของการประหยัดพลังงานอาจทำให้เกิดการสูญเสียในเรื่องของความสวยงามด้วย

การเน้นทางด้านการประหยัดพลังงานมากเกินไป

อาจทำให้เกิดการสูญเสียในเรื่องความสวยงาม

การส่องสว่างภายในบ้านอยู่อาศัย อพาร์ตเมนต์ และโรงแรมควรให้แสงแบบอบอุ่น  ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้แสงสีเหลืองจากหลอดอินแคนเดสเซนต์ ฮาโลเจน หรือหลอดคอมแพคท์แบบวอร์มไวท์ (Warm White) เพราะมีสีเหลืองคล้ายกัน 

หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์ ถือว่าเป็นหลอดประหยัดพลังงานแสงสว่างแทนหลอดอินแคนเดสเซนต์ หรือฮาโลเจนได้ แต่อาจต้องระวังคือ หลอดคอมแพคท์ไม่สามารถทำเป็นไฟส่องเน้นได้ดีเหมือนหลอดอินแคนเดสเซนต์ เพราะแหล่งกำเนิดแสงมีขนาดใหญ่

กรณีที่เป็นทางเดินหรือใช้ภายนอกซึ่งต้องมีการเปิดไฟแสงสว่างทิ้งไว้ทั้งคืนก็ควรใช้หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์หรือฟลูออเรสเซนต์ เพราะอายุการใช้งานนานกว่าหลอดมีไส้ถึง 4-8 เท่า

แสงจากหลอดที่ให้แสงสีเหลืองดูน่าอบอุ่นสำหรับบ้าน และ โรงแรม

          ความส่องสว่างโดยทั่วไปที่ใช้ในบ้านอยู่อาศัย อพาร์ตเมนต์ และ โรงแรมใช้ประมาณ 100-200 ลักซ์สำหรับพื้นที่ทั่วๆไป

ความส่องสว่างสำหรับพื้นที่ทั่วไปใช้    100-200  ลักซ์

          ความส่องสว่างพื้นที่ต่างๆในบ้านอยู่อาศัยและพื้นที่ข้างเคียงกำหนดไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้แสงสว่างดังแสดงในตารางที่ 5.1 และ ความสัมพันธ์ระหว่างความส่องสว่างในพื้นที่ทำงาน และ พื้นที่ข้างเคียงได้กำหนดไว้ในตารางที่  5.2


ตารางที่ 5.1 ความส่องสว่างในพื้นที่ใช้งานต่างๆในบ้านอยู่อาศัย

พื้นที่ต่างๆ

ความส่องสว่างที่พื้นที่(ลักซ์)

ความส่องสว่างรอบข้าง(ลักซ์)

ทางเข้า

150/500

60/100

ห้องครัว

500/750

250/350

ห้องรับประทานอาหาร

300

100

ห้องนั่งเล่น

60/300

60

ห้องทำงาน

300

150

ห้องน้ำ

500

200

ห้องน้ำแขก

250

100

ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า

500

200

ห้องนอนใหญ่

300/500

100/150

ห้องนอนเด็ก

300

150

ทางเดิน

150

50

บันได

200

60

ถนนทางเข้าบ้าน

300

100

ตารางที่ 5.2 ความสมดุลระหว่างความส่องสว่างของพื้นที่ใช้งานและข้างเคียง

รายการ

ค่าที่ต้องการ

ค่าต่ำสุด

พื้นที่ติดกับพื้นใช้ทำงาน

1/3 ของพื้นที่ใช้งาน

1/5 ของพื้นที่ใช้งาน

พื้นที่รอบข้าง

1/5 ของพื้นที่ใช้งาน

1/10 ของพื้นที่ใช้งาน

          เทคนิคการให้แสงสว่างในบ้าน อพาร์ตเมนท์ โรงแรมในพื้นที่ต่างๆเพื่อการประหยัดพลังงานสามารถสรุปได้ดังนี้

ก)        การใช้โคมไฟส่องลง

ข)        การให้แสงสว่างจากไฟหลืบ

ค)        การให้แสงสว่างในห้องน้ำ

ง)         การให้แสงสว่างในห้องครัว

จ)        การให้แสงในห้องนอน

ฉ)        การให้แสงสว่างทางเดิน

 

ก) การใช้โคมไฟส่องลง  สำหรับความสูงฝ้า 2.5 เมตร ถ้าเป็นงานที่ต้องการแสงสีที่ไม่เพี้ยนก็ใช้อินแคนเดสเซนต์ใช้ประมาณ 10 วัตต์/ตารางเมตร/100 ลักซ์  แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะโคมไฟที่ต้องเปิดทิ้งไว้นาน ใช้โคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ใช้ไฟฟ้าประมาณ 3 วัตต์/ตารางเมตร/100 ลักซ์

ถ้าต้องการติดตั้งโคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์ต้องระวังเรื่องความใหญ่ของโคมด้วย ตัวอย่างเช่นหลอดคอมแพคท์ที่ให้แสงปริมาณเดียวกับหลอดอินแคนเดสเซนต์ 100 วัตต์ GLS คือ หลอด 18 วัตต์ ซึ่งโคมสำหรับหลอดคอมแพคท์ 18 วัตต์ มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อใช้หลอดมีไส้มาก  ดังนั้นอาจต้องลดขนาดวัตต์ลงมาเพื่อไม่ให้โคมดูใหญ่น่าเกลียดและอาจได้วัตต์ที่เหมาะสมกับขนาดของโคมที่ต้องการคือ 10, 13, 2x7, 2x9 เป็นต้น  แต่ทั้งนี้ควรเช็คขนาดของโคมให้แน่ใจเสียก่อน 

การเลือกโคมไฟส่องลงที่ใช้หลอดคอมแพคท์ต้องระวัง

เรื่องความใหญ่ของโคมบนฝ้าด้วย อาจทำให้ต้องเลือกวัตต์ต่ำ และใช้หลายโคมแทน

สำหรับการเลือกขนาดวัตต์ของโคมเพื่อการใช้งานอาจใช้หลักการง่ายๆสำหรับพื้นที่ไม่สำคัญ เช่น ทางเดิน โดยใช้ 3 วัตต์/ตารางเมตร/100ลักซ์ สำหรับความสูงฝ้า 2.5 เมตร  เช่น ทางเดินขนาด 2x12 เมตรถ้าเลือกหลอดขนาด 10 วัตต์ และต้องการความส่องสว่างที่ประมาณ 50 ลักซ์ ก็ใช้วัตต์โดยประมาณ 2x12x1.5 = 36 วัตต์  ดังนั้นใช้โคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ 10 วัตต์ 4 โคม เป็นต้น

การเลือกโคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์นั้นมีทั้งชนิดหลอดติดตั้งในแนวนอน และหลอดติดตั้งในแนวตั้ง โคมที่มีหลอดติดตั้งในแนวนอนมักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องแสงบาดตา แต่มักมีปัญหาเรื่องขนาดของโคมจะใหญ่ แต่ถ้าเป็นโคมที่หลอดติดตั้งในแนวตั้ง ขนาดของโคมไม่ใหญ่มากนัก แต่มักมีปัญหาเรื่องแสงบาดตาที่ต้องพิถีพิถันในการเลือกโคมพอสมควร

โคมที่มีหลอดติดตั้งในแนวนอน มักมีขนาดใหญ่ แต่ไม่มีปัญหาเรื่องแสงบาดตา

โคมที่มีหลอดติดตั้งในแนวตั้งมักมีปัญหาเรื่องแสงบาดตา แต่โคมมีขนาดเล็กลง

ความสูงฝ้าที่ใช้ในการคำนวณที่ผ่านมาอยู่ประมาณ 2.4-2.7 เมตร เท่านั้น  ถ้าใช้ความสูงฝ้ามากกว่านี้ก็ต้องมาคำนวณ  หรืออาจใช้ตารางสำเร็จรูปที่กำหนดโดยผู้ผลิต  เช่น ห่างจากโคมระยะเท่าใดได้ความส่องสว่างเท่าใด  ความส่องสว่างเพื่อการใช้งานนั้นเป็นค่าที่กำหนดเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานโดยประมาณเท่านั้น เช่นต้องการ 100 ลักซ์ตามมาตรฐานแต่ในทางปฏิบัติอาจได้ 80 หรือ 120 ลักซ์ก็ถือว่ายังใช้ได้  ยกเว้นพื้นที่ที่ต้องการความส่องสว่างสูงที่ต้องระวังต้องไม่ให้น้อยเกินไปเพราะความส่องสว่างไม่พอใช้งาน  หรือความส่องสว่างมากเกินไปก็ทำให้เกิดความสิ้นเปลือง

ข) การให้แสงสว่างจากไฟหลืบ เป็นการให้แสงที่ต้องการแสงนิ่มนวล  แต่การให้แสงแบบนี้ไม่ประหยัดพลังงานเพราะแสงที่เล็ดลอดออกมาค่อนข้างน้อย   หลืบควรมีช่องเปิดที่ไม่เล็กเกินไป  ถ้าต้องการประหยัดพลังงานไม่ควรใช้การให้แสงแบบนี้

การให้แสงสว่างจากไฟหลืบไม่ประหยัดพลังงาน

แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ควรให้ช่องเปิดแสงใหญ่เพื่อไม่เปลืองมากเกินไป

 

หลอดฟลูออเรสเซนต์ติดตั้งในหลืบสำหรับการส่องสว่างแบบกลมกลืนทั่วห้อง

ช่องเปิด

ขนาดเบ้า

 

 

 

 

 

 

 

 


รูปที่ 5.1 การให้แสงสว่างจากหลืบ

 

ช่องเปิดต้องให้มีขนาดสัมพันธ์กับขนาดเบ้าเพื่อเพดานที่เบ้าสว่างทั้งหมดแทนที่จะเป็นที่ขอบเบ้าเท่านั้น  ช่องเปิดโดยทั่วไปควรมีขนาดอย่างน้อย 1/10 ของขนาดเบ้า 

 

ช่องเปิดไฟหลืบควรมีขนาดอย่างน้อย 1/10 ของขนาดเบ้า

          เนื่องจากการให้แสงสว่างจากไฟหลืบไม่ได้เน้นการให้แสงที่มีความส่องสว่างสูง แต่ต้องการให้แสงที่นุ่มนวล  การคำนวณแสงสว่างจากไฟหลืบเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย ทั้งนี้เพราะขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ  โดยทั่วไปความส่องสว่างจากไฟหลืบมากที่สุดมีค่าอยู่ประมาณ 100-200 ลักซ์ 

การหาจำนวนหลอดไฟเพื่อให้มีความส่องสว่างประมาณขนาดนี้สำหรับห้องที่มีความสูง 2.5-3 เมตร สามารถคำนวณได้โดยวิธีวัตต์ต่อตารางเมตรได้ดังนี้

ไฟหลืบฟลูออเรสเซนต์ใช้  8-12 วัตต์/ตารางเมตร/100 ลักซ์

กรณีที่หลืบมีช่องเปิดไฟกว้างกว่า 1/10 ของขนาดเบ้า ก็ใช้ 8 วัตต์ต่อตารางเมตร    ถ้าหลืบมีช่องเปิดแคบกว่า 1/10 ของขนาดเบ้าก็ใช้ 12 วัตต์ต่อตารางเมตร   บางครั้งคำนวณแล้วปรากฏว่าต้องใส่หลอดจำนวนมากและเกินกว่าที่จะมใส่ไว้ในช่องหลืบทั้งหมดได้  แสดงว่าหลืบมีจำนวนหลุมน้อยไป   อาจต้องปรึกษากับสถาปนิก หรือมัณฑนากรเพื่อร่วมกันแก้ไขเพื่อให้ได้จำนวนหลอดตามที่ต้องการหรือแก้ไขอย่างอื่น  การแก้ไขเพื่อให้ใส่จำนวนหลอดได้มากขึ้นโดยการเปลี่ยนเบ้าให้มากขึ้นได้แสดงไว้ในรูปที่ 5.2

การให้แสงสว่างจากไฟหลืบดังกล่าวข้างต้นนี้ เพดานของหลืบต้องมีสีขาวหรือสีอ่อนมาก แสงในหลืบจึงสามารถสะท้อนแสงออกมาให้ความสว่างกับห้องได้  ถ้าเพดานหลืบเป็นสีทึบเช่น สีน้ำเงิน หรือสีโทนมืด  แสงสว่างจากไฟหลืบก็ต้องคิดเป็นแสงสว่างเพื่อการตกแต่งเท่านั้น  ดังนั้นแสงสว่างสำหรับพื้นที่ในห้องก็ต้องมาจากแหล่งจ่ายแสงอื่นแทนที่จะมาจากหลืบ

 

 

หลอดทั้งหมด 16  หลอด

หลอดทั้งหมด 20 หลอด

 

 

 

 

 

 

 

 


รูปที่ 5.2 การแก้ไขจากไฟหลืบหนึ่งเบ้ามาเป็นแบบสองเบ้าเพื่อให้แสงมากขึ้น

การให้แสงสว่างจากหลืบเพื่อส่องสว่างพื้นที่ควรมีเพดานสีขาวหรือสีอ่อน 

มิฉะนั้นแล้วแสงจากไฟหลืบที่เพดานเป็นสีทึบก็เป็นเพียงไฟตกแต่งเท่านั้น

ค) การให้แสงสว่างในห้องน้ำ      การให้แสงสว่างในห้องน้ำมีทั้งการให้แสงเพื่อการส่องหน้า และเพื่อกิจกรรมอย่างอื่นแต่ส่วนมากใช้แสงสว่างในเวลาสั้น ดังนั้นการพิจารณาโคมไฟฟ้าห้องน้ำไม่คุ้มกับการเปลี่ยนหลอดหรือโคมจากหลอดมีไส้มาเป็นหลอดคอมแพคท์ เป็นต้น  การให้แสงในห้องน้ำเพื่อการประหยัดพลังงานต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน ดังนี้ 

-  บริเวณหน้ากระจกส่องหน้าควรมีแสงสว่างที่มากพอเพื่อไว้ใช้แต่งหน้า  โกนหนวด เป็นต้น  ไฟที่ใช้มีได้ทั้งสองอย่าง คือ ไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ หลอดอิน แคนฯหรือจากหลอดคอมแพคท์วอร์มไวท์  ผลที่ได้ออกมาไม่เหมือนกัน  ถ้าบริเวณหน้ากระจกดังกล่าวถ้าใช้สำหรับการแต่งหน้าด้วยควรมีการใช้ไฟแสงสว่างทั้งสองแบบ เพราะถ้าต้องการ แต่งหน้าเพื่อไปทำงานในเวลากลางวันก็ควรใช้ไฟฟลูออเรสเซนต์แบบคูลไวท์ (Cool White) หรือ เดไลท์ (Daylight) ถ้าต้องการแต่งหน้าเพื่อไปออกงานกลางคืนก็ใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์หรือคอมแพคท์วอร์มไวท์เพราะงานที่ไปส่วนใหญ่ เช่น งานเลี้ยงหรือ ในโรงแรมก็มักใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์  ตัวอย่างการให้แสงสว่างที่หน้ากระจกเพื่อการแต่งหน้าได้แสดงในรูปที่ 5.3

การเปลี่ยนไปใช้หลอดประหยัดพลังงานในพื้นที่ที่ไม่ได้มีการเปิดไฟใช้นานมาก

เช่นในห้องน้ำอาจไม่คุ้มเหมือนพื้นที่ทั่วไป

 

 

 

 

มีโคมฟลูออเรสเซนต์พร้อมฝาครอบสีขาวทั้งสองด้านของกระจก  และมีโคมไฟส่องลงด้วยหลอดอินแคนเดสเซนต์หรือคอมแพคท์วอร์มไวท์  โคมไฟส่องลงควรใช้แบบแสงกว้างเพื่อไม่ให้เกิดเงาเข้มที่ใบหน้า

 

มีหลอดอินแคนเดสเซนต์หลอดละ 15-25 วัตต์ข้างกระจกข้างละ 4-6 หลอด  หลอดมีขนาดวัตต์ต่ำเพื่อไม่ให้เกิดแสงบาดตา และมีโคมฟลูออเรสเซนต์ประเภทคูลไวท์ส่องลงทางด้านบนสำหรับการแต่งหน้าเพื่อไปทำงานกลางวัน

 

 


มีโคมไฟกิ่งหลอดอินแคนเดสเซนต์หรือคอมแพคท์วอร์มไวท์ทั้งสองด้านของกระจก และมีโคมฟลูออเรสเซนต์ประเภทคูลไวท์ ส่องด้านบน

 

รูปที่ 5.3 การส่องสว่างที่หน้ากระจกหลายแบบที่ประกอบด้วยฟลูออเรสเซนต์และอินแคนเดสเซนต์ หรือคอมแพคท์เพื่อให้การแต่งหน้าสะดวกเพื่อใช้ออกงานกลางวันหรือกลางคืน

 

การใช้หลอดประหยัดพลังงานในบางพื้นที่อาจสูญเสียเรื่องความสวยงาม

ซึ่งผู้ออกแบบต้องตัดสินใจโดยพิจารณาหลายองค์ประกอบ

 

- บริเวณที่ใช้ฝักบัวเพื่ออาบน้ำก็ควรใช้โคมที่สามารถป้องกันไอน้ำที่ออกมากับฝักบัว ด้วย เช่น โคมแบบมีครอบแก้ว เป็นต้น  บริเวณดังกล่าวต้องการความส่องสว่างเท่านั้นโดยไม่ต้องเน้นในเรื่องความถูกต้องสีมาก ดังนั้นอาจใช้โคมที่ใส่หลอดคอมแพคท์เพื่อไม่ต้องเปลี่ยนหลอดบ่อยๆ  ซึ่งอาจใช้  2x7  2x9  13  หรือ 18 วัตต์

โคมไฟพร้อมครอบแก้วป้องกันไอน้ำที่เกิดจากฝักบัว

โคมไฟส่องที่หน้ากระจกและสว่างพอสำหรับการอ่านที่ชักโครก

 


                              

 

 

 

รูปที่ 5.4 ไฟส่องในห้องน้ำ

ง) การให้แสงสว่างในห้องครัว การให้แสงสว่างในห้องครัวควรให้สว่างมากพอเพื่อสามารถหุงหาอาหาร หาของที่อยู่ภายในตู้ต่างๆได้ และมีความส่องสว่างมากพอบริเวณล้างจาน ดังนั้นเพื่อการประหยัดพลังงาน หลอดไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับห้องครัวที่ได้มีการแยกสัดส่วนต่างหากออกไปก็คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์ ยกเว้นห้องอุ่นอาหาร หรือ Pantry ที่มีพื้นที่ติดต่อกับพื้นที่ทีมีความสวยงามก็ต้องใช้หลอดสีวอร์มไวท์เป็นหลัก การออกแบบแสงสว่างบางครั้งต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบร่วมกัน

ห้องครัวที่ได้มีการแยกพื้นที่เป็นสัดส่วนออกไปควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์

หรือคอมแพคท์ เพื่อให้ได้ความส่องสว่างเพื่อการใช้งาน

 

ห้องอุ่นอาหาร หรือ Pantry ที่ไม่ได้แยกพื้นที่ออกจากพื้นที่ที่มีความสวยงาม

ควรระวังเรื่องแสงระหว่างพื้นที่ด้วย

พิจารณารูปที่ 5.5 (ก) ห้องครัวถูกแยกพื้นที่เป็นสัดส่วน ดังนั้นห้องครัวใช้ฟลูออเรสเซนต์เพื่อให้ความส่องสว่างสูงได้ แต่มีประตูที่เมื่อเปิดออกแล้วอาจมีแสงกวนระหว่างพื้นที่ ดังนั้นแสงสว่างบริเวณพื้นที่ต่อกันต้องให้แสงสว่างออกสีวอร์มไวท์ซึ่งอาจใช้หลอดคอมแพคท์วอร์มไวท์ เพื่อไม่ให้แสงสว่างฟลูออเรสเซนต์จากในห้องครัวออกมากวนในพื้นที่ตกแต่งภายนอก

รูปที่ 5.5 (ข) ห้อง Pantry ติดกับพื้นที่ตกแต่งซึ่งมีเพียงเคาน์เตอร์คั่นไว้ ดังนั้นการให้แสงสว่างในห้อง Pantry ควรกลมกลืนกับพื้นที่ที่ตกแต่งด้วยแสงสว่างแบบเดียวกัน

ความส่องสว่างบริเวณภายในครัวควรอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 300 ลักซ์เป็นอย่างน้อย   แสงระดับนี้อาจใช้ฟลูออเรสเซนต์ร่วมกับโคมไฟหลอดคอมแพคท์วอร์มไวท์ เพื่อให้กลมกลืนกับพื้นที่ข้างเคียงในบ้านอยู่อาศัยที่ใช้หลอดไฟสีเหลือง

ห้องครัว

พื้นที่ตกแต่ง

Pantry

พื้นที่ตกแต่ง

ก)

ข)

 

 

 

 

 

 


รูปที่ 5.5 การให้แสงระหว่างพื้นที่ที่ติดกัน

(ก)          การให้แสงให้กลมกลืนที่ทางเข้าระหว่างพื้นที่

(ข)          การให้แสงทั้งสองพื้นที่ต้องกลมกลืนกัน


นอกจากแสงสว่างทั่วไปในห้องครัวแล้วควรมีโคมไฟส่องโดยตรงที่บริเวณอ่างล้างจานด้วยถ้าไฟแสงสว่างทั่วไปในห้องครัวไม่สว่างพอหรือเกิดการบังแสงเมื่อยืนที่อ่างล้างจาน  ไฟที่อยู่ในห้องครัวควรวางในตำแหน่งที่เหมาะเพื่อให้แสงส่องเข้าที่ภายในตู้ลอยด้วย  มีหลายครั้งเหมือนกันที่เจ้าบ้านรู้สึกหงุดหงิดที่เวลาเปิดตู้ลอยแล้วมองหาของภายในตู้ได้ลำบากมาก  และควรมีไฟแสงสว่างใต้ตู้ลอยด้วยเพื่อส่องสว่างเคาน์เตอร์ เพื่อการหุงหาอาหาร

สรุปแล้วไฟแสงสว่างที่อยู่ภายในห้องครัวควรประกอบด้วยกลุ่มไฟดังนี้

-  ไฟแสงสว่างที่เพดานเพื่อการส่องบริเวณในครัว รวมทั้งส่องสว่างเข้าภายในตู้ลอยด้วย

-  ไฟแสงสว่างใต้ตู้ลอยเพื่อการส่องสว่างสำหรับทำกิจกรรมต่างๆใต้ตู้ลอย

-  ไฟแสงสว่างเหนืออ่างล้างจาน

รูปที่ 5.6 การให้ความส่องสว่างในห้องครัว

ตู้ลอย

เคาน์เตอร์

อ่างล้างจาน

โคมไฟส่องสว่างทั้งห้อง รวมทั้งให้ความสว่างเข้าไปในตู้ลอย และให้ความสว่างที่อ่างล้างจาน

โคมไฟใต้ตู้ลอย

 

 

 

 

 

 


       

 

 

       

ในกรณีที่ความส่องสว่างของไฟกลุ่มใดให้แสงสว่างได้มากพอก็อาจไม่ต้องติดไฟแสงสว่างอีกกลุ่มก็ได้  เช่น ไฟแสงสว่างที่เพดานเพื่อการส่องสว่างในครัว ถ้าให้ความสว่างมากพอที่บริเวณอ่างล้างจานด้วย ก็ไม่ต้องติดไฟแสงสว่างเหนืออ่างล้างจาน เป็นต้น

     โคมไฟส่องลง

     โคมไฟสาดกำแพง

               โคมไฟฟลูออเรสเซนต์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


รูปที่ 5.7 การให้แสงสว่างรูปแบบต่างๆกันในห้องครัว

โคมไฟส่องลงหรือโคมไฟสาดกำแพงในรูปบนควรใช้โคมคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์เพื่อการประหยัดพลังงาน

จ) การให้แสงในห้องนอน  ควรให้แสงเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น คือ ตู้เก็บเสื้อผ้าควรมีแสงส่องเข้าไปซึ่งอาจติดไฟข้างในตู้ หรือ ติดไฟฝังด้านนอกสาดตู้   บริเวณด้านหน้าหรือด้านข้างโทรทัศน์ควรมีไฟส่องเพื่อไม่ให้แสงบริเวณรอบโทรทัศน์มืดเกินไป นอกจากนั้นอาจติดตั้งไฟส่องลงที่หน้าประตู หรือตามทางเดินเพื่อสามารถเดินเหินได้สะดวก ไฟในห้องนอนที่ใช้อ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ใช้สายตาก็มักใช้แสงจากไฟตั้งโต๊ะ กรณีที่มีการติดตั้งรูปภาพภายในห้องหรือที่หัวเตียงอาจใช้ไฟส่องเพิ่มถ้าต้องการให้แสงเน้น

แสงสว่างภายในห้องนอนใช้ไฟตั้งโต๊ะช่วยได้มากเพราะให้แสงไม่บาดตา  นอกจากนั้นยังใช้เป็นโคมไฟให้แสงสว่างทั่วไปทั้งห้องได้ด้วย  ดังนั้นถ้าห้องนอนมีโคมไฟตั้งโต๊ะมากพอบางครั้งก็ไม่ต้องติดตั้งโคมไฟที่เพดานเพื่อการส่องทั่วบริเวณ  นอกจากนั้นถ้าที่ห้องนอนใช้การให้แสงจากตัวบังตาเพื่อการส่องผ้าม่านก็ใช้เป็นแสงสว่างทั่วไปในห้องนอนได้ด้วย  การให้แสงสว่างในแต่ละพื้นที่สามารถทำได้หลายอย่างหรือหลายแบบ  แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการวาดมโนภาพว่าห้องนอนควรให้ความส่องสว่างแบบไหนจึงให้ทั้งความสวยงามและการใช้งานได้ในเวลาเดียวกันตามจินตนาการของมัณฑนากร

          ตัวอย่างการให้แสงสว่างในห้องนอนได้แสดงไว้ในรูปที่ 5.8 ซึ่งการให้แสงสว่างในรูปดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางหนึ่งเท่านั้น การให้แสงสว่างในพื้นที่ดังกล่าวอาจมีการให้แสงสว่างได้หลายอย่างซึ่งแล้วแต่ผู้ออกแบบแต่ละราย ถ้าต้องการประหยัดพลังงานก็ใช้หลอดคอมแพคท์แบบวอร์มไวท์แทนหลอดอินแคนเดสเซนต์ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งที่โคมไฟส่องลง และโคมไฟตั้งโต๊ะ

          

 

รูปที่ 5.8 ตัวอย่างการให้แสงสว่างในห้องนอน

ฉ. การให้แสงสว่างทางเดิน สำหรับภายในบ้านที่มีความสูงฝ้าโดยเฉลี่ยที่ 2.5 เมตร ก็ให้ติดตั้งโคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ 3 วัตต์ต่อตารางเมตรจะให้ความส่องสว่างประมาณ 100 ลักซ์ที่พื้น โดยอาจใช้โคมที่ใช้หลอด 10 หรือ 13 วัตต์หลอดวอร์มไวท์ ส่วนโคมที่ใช้หลอดที่มีวัตต์สูงอาจมีปัญหาเรื่องขนาดโคมซึ่งมักมีขนาดใหญ่มาก

         ความส่องสว่างที่ 100 ลักซ์ถือว่าเป็นความส่องสว่างที่พอเหมาะแล้วสำหรับพื้นที่ที่ไม่ได้ทำกิจกรรมอย่างอื่น  และเนื่องจากตามทางเดินมีหน้าต่างหรือประตู ดังนั้นการใส่โคมไฟส่องลงควรวางที่ตรงกลางหน้าประตูหรือหน้าต่างเพื่อให้เกิดเงาที่สมมาตรที่หน้าต่างหรือประตู  ไม่จำเป็นต้องวางโคมให้มีระยะห่างเท่ากันตลอด และเพื่อให้การส่องสว่างสม่ำเสมอบ้างก็ควรวางโคมไฟส่องลงทุกๆ 2-3 เมตร ถ้าหากระยะระหว่างนี้จะห่างไปอีกบ้างก็คงไม่เป็นไรถ้าจำเป็นต้องวางโคมให้อยู่กลางประตูหรือหน้าต่าง  แต่ถ้าประตูหรือหน้าต่างมีจำนวนมากหรือติดกันมากบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องวางให้ตรงหน้าประตูหรือหน้าต่างเพราะจะทำให้อยู่ชิดกันมากเกินไป

 


รูปที่ 5.9  การให้แสงสว่างบริเวณทางเดินให้ตรงกึ่งกลางหน้าต่างและประตูเพื่อให้เกิดเงาที่กึ่งกลางประตูและหน้าต่าง

 

          การให้แสงสว่างทางเดินที่กล่าวมาแล้วนั้นบางครั้งต้องเปิดทิ้งไว้ทั้งคืน ก็ควรใช้โคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์แบบวอร์มไวท์ หลอดขนาดวัตต์ที่ใช้กันมากได้แก่หลอดคอมแพคท์ 9, 10 หรือ 13 วัตต์ ซึ่งขนาดโคมของหลอดดังกล่าวไม่ใหญ่มากเกินไป  โดยใช้จำนวนประมาณ 3 วัตต์ต่อตารางเมตรต่อ 100 ลักซ์   เช่นทางเดินกว้าง 2 เมตร ยาว 12 เมตร  ถ้าต้องการความส่องสว่างประมาณ 100 ลักซ์ใช้วัตต์ของหลอดคอมแพคท์ประมาณ 2x12x3 = 72 วัตต์ หรือใช้โคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ 10 วัตต์ทั้งหมดประมาณ  7-8 โคม เป็นต้น

5.2. การส่องสว่างสำนักงาน

          การส่องสว่างสำนักงานต้องให้ได้แสงสว่างสม่ำเสมอ ยกเว้นกรณีที่เป็นห้องต้อนรับ หรือเป็นบริเวณที่ไม่ได้ใช้ทำงานก็ไม่ต้องให้มีแสงสว่างสม่ำเสมอ  การส่องสว่างสำนักงานโดยทั่วไปก็ใช้หลอด ฟลูออเรสเซนต์คูลไวท์ (Cool White) หรือ เดไลท์ (Daylight)

          โคมไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โคมตัวสะท้อนแสงอะลูมิเนียม (Aluminum Reflector) อะลูมิเนียมมีสองแบบ คือ แบบกระจกเงา และ แบบด้าน   วัสดุที่ใช้ควรมีประสิทธิภาพการสะท้อนแสงที่ดี เช่นมีสัมประสิทธิการสะท้อนแสงของตัวสะท้อนแสง 95 % เป็นต้น และนอกจากนี้ต้องมีการออกแบบโคมที่ดีด้วย การพิจารณาโคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานควรพิจารณาจากประสิทธิภาพโดยรวมของโคมไฟฟ้า h (ปริมาณแสงที่ออกจากโคม/ ปริมาณแสงที่ออกจากหลอด) เป็นเกณฑ์

 

โคมประหยัดพลังงานควรพิจารณาจากประสิทธิภาพโดยรวม (h) ของโคม

รวมทั้งแสงบาดตา และกราฟกระจายแสงของโคมที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่

โคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานควรมีคุณสมบัติอย่างไรนั้นพอบอกได้ดังนี้ คือต้องเป็นโคมที่มีประสิทธิภาพสูง และมีแสงบาดตาไม่มากเกินไป และมีกราฟกระจายแสงที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในแต่ละพื้นที่

             

                              รูปที่ 5.10 การให้แสงสว่างบริเวณทางเข้าสำนักงาน

5.2.1 พื้นที่สำนักงานเปิด  หมายถึง พื้นที่ขนาดใหญ่ไม่ได้กั้นเป็นห้อง หรือ กั้นคอก การให้แสงในลักษณะนี้ก็วางโคมแบบให้แสงสม่ำเสมอหมดทั้งพื้นที่ดังแสดงในรูปที่ 5.11 การให้แสงพื้นที่เปิดควรระวังไม่ให้ระยะห่างระหว่างโคมมากเกินไป  เพราะในทางปฏิบัติพื้นที่สำนักงานเปิดอาจมีการกั้นคอก (Partition)   ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึงเงาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังแสงจากผนังที่เอามากั้นไว้ถ้าโคมวางห่างเกินไป แต่ถ้าไม่มีการกั้นคอกโคมไฟฟ้าที่มีการกระจายแสงในแนวกว้างก็เหมาะเพราะไม่ต้องใช้จำนวนโคมมากเกินไป

          ถ้าสำนักงานเปิดมีเพดานที่สูงเช่น ตั้งแต่ 2.8 ม.เป็นต้นไป การพิจารณาโคมที่ใช้ควรเลือกโคมที่มีแสงไม่กระจายมากเพื่อให้แสงลงมาที่โต๊ะทำงานมากขึ้นดังแสดงในรูปที่ 5.12

 

                     

              รูปที่ 5.11 การให้แสงสว่างสม่ำเสมอในพื้นที่สำนักงานเปิด

cd/Klm

0o

30o

60o

100

200

300

400

500

cd/Klm

0o

30o

60o

100

200

300

400

500

 

 

 

 

 

 

 


                              ก)                                                        ข)

รูปที่ 5.12 กราฟกระจายแสงโคมฟลูออเรสเซนต์เพื่อการใช้งานพื้นที่ต่างกัน

ก)              เหมาะสำหรับพื้นที่ที่เพดานไม่สูงมาก

ข)             เหมาะสำหรับพื้นที่เพดานสูง

สำนักงานเปิดที่มีเพดานสูงควรใช้โคมที่มีแสงกระจายด้านข้างน้อย

ทั้งนี้เพื่อประหยัดพลังงาน และเมื่อมีการกั้นคอกก็ไม่มีปัญหามาก

5.2.2 สำนักงานกั้นคอก  หมายถึง สำนักงานที่มีการกั้นคอกสูง (Partition)  ซึ่งโดยมากมักจะอยู่ติดกับพื้นที่สำนักงานเปิด   การให้แสงที่บริเวณนี้ก็อาจต้องมีการจัดโคมใหม่จากแนวเดิมของพื้นที่สำนักงานเปิด เพื่อให้แสงส่องลงบริเวณที่กั้นคอก  และการออกแบบในบริเวณดังกล่าวเมื่อต้องใช้สูตรการคำนวณแบบลูเมนต้องพิจารณาผลของการกั้นคอกสูงด้วย เพราะการกั้นคอกดังกล่าวทำให้ความส่องสว่างลดลงมากเหลือ 70-80%  เช่น เมื่อยังไม่มีการกั้นคอกสูง วัดความส่องสว่างที่โต๊ะทำงานได้ 500 ลักซ์ เมื่อมีคอกกั้นสูง ความส่องสว่างที่โต๊ะทำงานอาจเหลือเพียง    500x0.7 = 350 ลักซ์ เป็นต้น

ความส่องสว่างสำหรับสำนักงานกั้นคอกลดลงเหลือ 70-80 % จากที่คำนวณได้

          โคมไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับสำนักงานกั้นคอกควรเป็นโคมฟลูออเรสเซนต์ที่มีการกระจายแสงด้านข้างน้อย เพราะถ้าใช้โคมที่มีกราฟกระจายแสงตามในรูปที่ 5.12ก) และตั้งโคมห่างกันมากทำให้พื้นที่กั้นคอกบางพื้นที่ไม่มีโคมอยู่เหนือพื้นที่ แสงในบริเวณนั้นก็มืดมากกว่าพื้นที่อื่นๆ

โคมที่เหมาะสำหรับสำนักงานแบบกั้นคอกควรเป็นโคมที่กราฟกระจายแสงด้านข้างไม่มาก

5.2.3 ห้องสำนักงาน  หมายถึง สำนักงานที่กั้นเป็นห้อง เช่น ห้องผู้จัดการ เป็นต้น  การให้แสงในสำนักงานที่เป็นห้องนี้ พิจารณาได้เป็น 2 อย่าง คือ ถ้าห้องมีการปรับเปลี่ยนบ่อยก็ควรให้แสงแบบสม่ำเสมอ   แต่ถ้าห้องไม่มีการปรับเปลี่ยนก็ควรให้แสงแบบเน้นเป็นที่ เช่น  ที่กลางโต๊ะก็ติดตั้งโคมไฟฟลูออเรสเซนต์ให้ได้ประมาณ 500 ลักซ์  เมื่อให้แสงที่โต๊ะทำงานแล้ว  บริเวณอื่นก็สามารถให้แสงตามความเหมาะสมได้จากโคมฟลูออเรสเซนต์ แทนที่จะให้ความส่องสว่างสูงมากจากหลอดฟลูออเรสเซนต์อย่างเดียวทำให้ไม่ประหยัดพลังงานแสงสว่าง

 

 

รูปที่ 5.13 การให้แสงสว่างในห้องสำนักงานที่กั้นเป็นสัดส่วน

รูปที่ 5.13 แสดงการให้แสงสว่างในสำนักงานที่เป็นห้องส่วน ซึ่งมีที่ควรระวังคือ ความส่องสว่างที่โต๊ะและบริเวณข้างเคียงภายในห้องไม่ควรมีความส่องสว่างต่างกันมากกว่า 3 เท่า  เช่น ที่โต๊ะทำงานให้ความส่องสว่าง 500 ลักซ์  บริเวณข้างเคียงควรมีความส่องสว่างไม่น้อยกว่า 500/3 หรือประมาณไม่น้อยกว่า 150 ลักซ์  ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตาต้องปรับสภาพมากเมื่อต้องเงยหน้าขึ้นจากโต๊ะทำงาน

การให้แสงสว่างบนโต๊ะทำงานที่ไม่ต้องการให้แสงสว่างกระจายไปด้านข้างมาก เพื่อไม่ให้รบกวนแสงตกแต่งก็ควรใช้โคมที่มีกราฟกระจายแสงด้านข้างไม่มากนัก พิจารณารูปที่ 5.14 สำหรับพื้นที่สำนักงานที่เป็นห้องส่วนตัวกรณีที่ใช้โคมที่มีการกระจายแสงมากและโคมที่มีการกระจายแสงไม่มาก รูปที่ 5.14ก) ใช้โคมฟลูออเรสเซนต์ที่มีการกระจายแสงด้านข้างมากเช่นในกราฟโคมในรูปที่ 5.12ก) จะให้แสงกระจายกว้างทำให้การตกแต่งด้วยแสงอย่างอื่นทำได้ลำบาก แต่ถ้าใช้กราฟโคมในรูปที่ 5.12ข) ซึ่งมีการกระจายแสงไม่กว้าง ทำให้งานตกแต่งด้วยโคมอย่างอื่นทำได้ง่ายเพื่อให้เกิดความสวยงาม


 

 

 

 

 


                                ก)                                                      ข)

รูปที่ 5.14 ความแตกต่างของการใช้โคมที่แสงกระจายด้านข้างมากเทียบกับด้านข้างน้อย

ก) โคมกระจายแสงด้านข้างมาก   ข) โคมกระจายแสงด้านข้างน้อย

การให้แสงในห้องสำนักงานควรใช้โคมฟลูออเรสเซนต์ที่มีกราฟกระจายแสงด้านข้างไม่มาก

เพื่อให้งานตกแต่งแสงด้วยโคมอย่างอื่นทำได้ไม่ยากนัก

5.2.4 ห้องประชุม  หมายถึง ห้องที่มีการใช้ประชุมซึ่งอาจเป็นของกรรมการบริหาร  นอกจากมีการประชุมแล้วอาจมีการฉายสไลด์ หรือ ฉายวีดีโอ ด้วย  ตัวอย่างการให้แสงในห้องประชุมได้แสดงไว้ในรูปที่ 5.15  ซึ่งการให้แสงสว่างในห้องดังกล่าวอาจประหยัดพลังงานได้ไม่มาก เพราะจำเป็นต้องใช้การหรี่ไฟจากหลอดอินแคนเดสเซนต์ และสิ่งที่ต้องคำนึงในการออกแบบแสงสว่างห้องประชุมดังกล่าวควรมีรายละเอียดดังนี้

-   ควรมีการให้แสงจากกลุ่มไฟอินแคนเดสเซนต์ที่กลางโต๊ะโดยสามารถหรี่ได้ด้วย เพื่อใช้หรี่ไฟเมื่อมีการฉายสไลด์ หรือ วีดีโอ

-    แสงไฟที่บริเวณหน้าห้อง หรือ กระดาน ควรมีกลุ่มไฟหลอดอินแคนเดสเซนต์เฉพาะเพื่อใช้กรณีต้องการเน้นเฉพาะที่หน้าห้องเมื่อมีการแสดง หรือ บรรยาย

กลุ่มโคมไฟอินแคนเดสเซนต์ที่หน้าห้องมีสวิทช์ไฟหรี่แยกต่างหาก

กลุ่มโคมไฟฟลูออเรสเซนต์เพื่อให้ความส่องสว่างสูงซึ่งอาจใช้โคม 18 หรือ 36 วัตต์

                   

 

รูปที่ 5.15 ตัวอย่างการให้แสงสว่างในห้องประชุม

 

-   ไฟกลางห้อง หรือ กลางโต๊ะประชุม ควรเป็นโคมจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ชนิดคูลไวท์ (เพราะหลอด Cool White เป็นหลอดที่มีแสงเหมาะสำหรับการส่องสว่างที่ 500 ลักซ์ และมีองศาเคลวินไม่มากเกินไป และสามารถกลมกลืนเข้าได้กับหลอดอินแคนเดสเซนต์)  โคมที่ใช้อาจใช้โคมแบบมีแผ่นกรองแสงขาวขุ่น หรือ เกล็ดแก้วเพื่อให้สบายตา  

-  ไฟข้างกำแพงโดยทั่วไปก็ติดตั้งโคมไฟส่องรูปสปอร์ตไลท์ หรือ อาจเป็นโคมไฟสาดกำแพงในกรณีที่ต้องการให้ทั้งกำแพงสว่าง เนื่องจากติดรูปมาก หรือ ต้องการเน้นผืนกำแพงให้สว่างกรณีที่ห้องมีลักษณะยาวและแคบ จึงต้องใช้เทคนิคของแสงเพื่อขยายให้ห้องดูกว้างขึ้น

การออกแบบแสงสว่างในห้องประชุมควรมีหลายรูปแบบ

เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้หลายอย่าง ตั้งแต่การประชุม การฉายวีดีโอ การฉายสไลด์

5.2.5 สวิตช์ปิดเปิดไฟในสำนักงาน  สวิตช์ปิดเปิดในสำนักงานเพื่อการประหยัดพลังงานควรพิจารณาดังนี้

ถ้าเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้หน้าต่างควรพิจาณาให้มีการปิดเปิดสวิตช์ต่างหากของแนวโคมไฟฟ้าขนานกับหน้าต่าง เพราะถ้ามีแสงสว่างจากภายนอกเข้ามาช่วยก็ไม่ต้องเปิดโคมแสงสว่างในบริเวณนั้น

การปิดเปิดสวิตช์ไฟควรแยกออกสำหรับพื้นที่ต่างๆด้วยถึงแม้จะเป็นสำนักงานเปิดก็ตาม เพื่อแยกสวิตช์ปิดไฟด้วยเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้

การประหยัดพลังงานแสงสว่างด้วยการจัดสวิตช์ปิดเปิดแยกเพื่อการประหยัดพลังงานเป็นสิ่งจำเป็นและประหยัดได้มากด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการรณรงค์เรื่องการประหยัดไฟฟ้าด้วย มิฉะนั้นการปิดเปิดสวิตช์ไฟเพื่อการประหยัดพลังงานแสงสว่างก็ไม่เกิด

5.2.6 การให้แสงสว่างในห้องที่มีจอคอมพิวเตอร์

          สิ่งที่ต้องระวังในเรื่องการให้แสงสว่างในห้องหรือบริเวณที่มีจอคอมพิวเตอร์ ก็คือ ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดแสงสะท้อนขึ้นในจอคอมพิวเตอร์ซึ่งโดยทั่วไปก็คือ ถ้าติดตั้งหรือให้การส่องสว่างที่ไม่ถูกต้องบางครั้งก็มีแสงสะท้อนให้เห็นรูปโคมในจอคอมพิวเตอร์  ทำให้อ่านข้อความในจอได้ลำบาก  วิธีการแก้ไขไม่ให้เกิดแสงดังกล่าวสามารถทำได้หลายอย่างดังนี้

-  พื้นผิวไม่ว่าพื้น ผนัง เพดาน ควรมีสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงระหว่าง 20-50 %

-  มุมแสงบาดตาของโคมที่มากกว่า 60 องศาขึ้นไปต้องมีลูมิแนนซ์ไม่มากกว่า 200 แคนเดลาต่อตารางเมตร

-  ในห้องที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ควรให้แสงสว่างทั้งแบบโดยตรงและโดยอ้อม

-  โคมไฟแสงสว่างไม่ควรวางเหนือเครื่องคอมพิวเตอร์

-  ไม่ควรวางเครื่องคอมพิวเตอร์ใกล้หน้าต่าง

-  การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรให้ทิศทางการมองเครื่องขนานกับกำแพง

          โคมที่ใช้สำหรับการส่องสว่างในห้องที่มีจอคอมพิวเตอร์หรือจอมอนิเตอร์ควรเป็นโคมที่มีแสงบาดตาน้อย  ถ้าเป็นห้องที่พิถีพิถันในเรื่องนี้อาจจำเป็นต้องใช้แสงแบบส่องขึ้น (Uplight) เช่น ศูนย์ควบคุมการบินที่ต้องใช้จอมอนิเตอร์ หรือห้องควบคุมสำคัญ แต่ถ้าเป็นห้องคอมพิวเตอร์ธรรมดาก็อาจเลือกโคมที่มีแสงบาดตาน้อยและยังคงมีประสิทธิภาพการให้แสงสูง เช่น โคมฟลูออเรสเซนต์แบบตัวขวางพาราโบลิกจัตุรัส ซึ่งให้แสงบาดตาน้อยกว่าโคมฟลูออเรสเซนต์แบบตัวขวางชนิดอื่นๆ

5.3 การส่องสว่างโรงเรียน

          การส่องสว่างภายในโรงเรียนต่างจากการให้แสงสว่างในสำนักงานตรงที่ว่า  การใช้สายตาในโรงเรียนมีทั้งการมองที่โต๊ะเรียนและการมองในแนวระดับเพื่อดูกระดานหรือผู้สอน  ดังนั้นการให้แสงสว่างภายในโรงเรียนจึงต้องระวังเรื่องแสงบาดตามากกว่าการให้แสงสว่างในสำนักงาน    

          โคมไฟที่ใช้ในโรงเรียนโดยทั่วไปเป็นโคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงคือ มีตะแกรงเพื่อไม่ให้เกิดแสงบาดตาเมื่อต้องใช้สายตาในแนวระดับมากดังแสดงในรูปที่ 5.16 โคมมีตะแกรงหรือเซลล์ประมาณ 11-14 เซลล์ต่อหลอดเพื่อลดแสงบาดตา และใช้แขวนจากเพดานในกรณีที่เพดานสูงโดยมีแสงออกทางด้านบนของโคมด้วยทั้งนี้เพื่อทำให้เพดานสว่างดูไม่อึดอัด โคมไฟฟลูออเรสเซนต์ควรติดตั้งแนวยาวของโคมตามทิศทางการมอง เพื่อไม่ให้เกิดเงาระหว่างโคมที่โต๊ะเรียน โคมที่ใช้ตัวสะท้อนแสงอาจใช้อะลูมิเนียมที่มีสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงที่ดีเพื่อการประหยัดพลังงาน

โคมไฟฟ้าสำหรับโรงเรียนควรเป็นโคมที่มีแสงบาดตาน้อยตัวสะท้อนแสงของโคม

อาจใช้อะลูมิเนียมที่มี สัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงสูง แต่ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องแสงบาดตา

          โรงเรียนมีพื้นที่การใช้งานหลายอย่างตั้งแต่ ห้องบรรยาย  ห้องปฏิบัติการ ห้องทดลอง  ห้องประชุมใหญ่  ห้องสัมมนา  อาคารเอนกประสงค์  ห้องสมุด เป็นต้น

 

 

 

 

 

 


รูปที่ 5.16 โคมไฟฟลูออเรสเซนต์ตะแกรง

5.3.1 ห้องบรรยาย  ห้องบรรยายควรมีแสงสว่างให้เพียงพอทั่วทั้งห้องเพื่อการใช้สายตาของผู้ที่ฟังการบรรยาย ความส่องสว่างในห้องบรรยายประมาณ 500 ลักซ์ และให้แสงสว่างที่หน้ากระดานมากพอสมควรเพื่อให้การมองเห็นได้ชัดจากผู้ฟัง  ความส่องสว่างที่หน้ากระดานประมาณ 700 ลักซ์  และแสงสว่างที่กระดานต้องไม่ให้เกิดแสงบาดตากับผู้ฟังการบรรยาย ดังนั้นการติดตั้งโคมที่ด้านหน้ากระดานต้องพิจารณาแสงสะท้อนจากโคมเข้ากระดานและสะท้อนมาหาผู้ฟัง

         

 

 

 

แสงด้านนอกเข้ามา

ควรจัดสวิตช์ปิดแสงสว่างกลุ่มนี้เมื่อมีแสงจากภายนอกเข้ามาช่วย

ควรจัดสวิทช์ปิดเปิดไฟกลุ่มนี้เพื่อการฉายสไลด์หรือวีดีโอโดยไม่ต้องปิดไฟทั้งห้อง


 

 


รูปที่ 5.17   การให้แสงสว่างในห้องบรรยายที่เน้นการส่องสว่างสม่ำเสมอในห้องและที่หน้ากระดาน

 โคมวางในทิศทางการมอง

          นอกจากความส่องสว่างดังกล่าวแล้วการปิดเปิดสวิตช์ไฟค่อนข้างสำคัญสำหรับงานให้แสงสว่างในโรงเรียนเพราะการใช้งานในห้องเรียนมีหลายรูปแบบ และมักใช้งานในเวลากลางวัน คือ มีทั้งการบรรยาย การฉายสไลด์ เป็นต้น  ดังนั้นควรมีสวิตช์แยกปิดเปิดไฟด้านหน้าห้องเรียนโดยเฉพาะเมื่อต้องการฉายสไลด์  และมีสวิตช์ไฟเพื่อปิดโคมที่อยู่ใกล้หน้าต่างเพื่อประหยัดพลังงานเพราะมีแสงจากภายนอกมาช่วยเมื่อตอนกลางวัน  และเปิดสวิตช์เฉพาะบริเวณด้านในที่ไม่อยู่ใกล้หน้าต่างเพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า

 

ห้องบรรยายควรจัดโคมและสวิตช์ดังนี้

- โคมฟลูออเรสเซนต์วางตามทิศทางการมอง

- ความส่องสว่างในห้อง 500 ลักซ์ และที่หน้าเวที 700 ลักซ์

- การจัดสวิตช์ให้ปิดเปิดโคมตามแนวยาวและกลุ่มโคมที่หน้าห้องด้วย

5.3.2 ห้องปฏิบัติการ  การให้แสงในห้องปฏิบัติการควรให้แสงสว่างสม่ำเสมอทั้งห้อง ความส่องสว่างในห้องปฏิบัติการประมาณ 500 ลักซ์  สำหรับบริเวณที่ต้องการแสงสว่างมากเพราะชิ้นส่วนมีขนาดเล็กต้องมีการให้แสงเพิ่มมากขึ้น  การให้แสงมากขึ้นกว่า 500 ลักซ์ควรเป็นการให้แสงที่มาจากโคมที่ติดตั้งตามโต๊ะปฏิบัติการ  ในกรณีที่ต้องการความส่องสว่างมาก เพื่อใช้ในการเรียนการสอนที่ต้องใช้สายตามาก เพื่อการมองเห็นวัตถุขนาดเล็กก็ควรติดตั้งโคมไฟใกล้ๆกับชิ้นงาน เพื่อไม่ให้เกิดความสิ้นเปลืองมากเกินไป  นอกจากนี้การวางโคมก็ใช้หลักการเหมือนในห้องเรียน  คือวางโคมขนานกับหน้าต่างเพื่อสามารถแบ่งการปิดเปิดสวิตช์ได้เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพราะบริเวณที่อยู่ใกล้หน้าต่างอาจไม่จำเป็นต้องเปิดไฟในเวลากลางวัน  ยกเว้นวันที่ฟ้ามืดครึ้มหรือมีการเรียนการสอนในเวลากลางคืน

5.3.3 ห้องประชุมใหญ่  การให้แสงในห้องประชุมใหญ่ของโรงเรียนมีด้วยการหลายวัตถุประสงค์  นอกจากใช้ในการประชุมแล้วก็ยังอาจใช้ห้องประชุมสำหรับการแสดงที่ต้องมีการให้แสงหน้าเวทีด้วย  ความส่องสว่างโดยทั่วไปในห้องประชุมประมาณ 200 ลักซ์ ส่วนความส่องสว่างที่หน้าเวทีก็เหมือนกับการให้แสงสว่างเพื่อใช้ในการแสดงทั่วไปที่อาจใช้ความส่องสว่างขนาด 1000 - 2000 ลักซ์ แต่ทั้งนี้ก็ต้องระวังเรื่องแสงบาดตาที่อาจเกิดแก่เด็กด้วย  นอกจากนี้ควรมีระบบการหรี่ไฟด้วยเพื่อให้มีระดับการส่องสว่างได้หลายระดับ

          ห้องประชุมใหญ่ดังกล่าวถ้าใช้เพื่อการบรรยายและการเรียนด้วย ความส่องสว่างก็ต้องมากถึง 500 ลักซ์โดยใช้โคมฟลูออเรสเซนต์  ส่วนโคมไฟส่องลงหลอดอินแคนเดสเซนต์ก็ควรมีเพื่อการหรี่ไฟด้วยเมื่อต้องการฉายสไลด์หรือวีดีโอ

5.3.4 ห้องสมุด  การให้แสงห้องสมุดมีที่ต้องการแสงสว่างเพื่อการมอง อ่าน หรือเขียนประมาณ 3 ที่ คือ ที่หิ้งหนังสือ  โต๊ะอ่านหนังสือ และบริเวณตู้ค้นดัชนีหนังสือ  ความส่องสว่างในห้องสมุดประมาณ 300 ลักซ์  และตำแหน่งของดวงโคมต้องให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย เช่น หิ้งวางหนังสือต้องวางดวงโคมให้แสงส่องให้เห็นตัวหนังสือที่ชั้นวางหนังสือทุกชั้น  ดังนั้นการติดตั้งโคมควรให้อยู่ระหว่างชั้นหนังสือ  ส่วนบริเวณโต๊ะอ่านหนังสือก็ต้องติดตั้งโคมให้มีความส่องสว่างมากพอประมาณ 300 ลักซ์

          บางครั้งบริเวณห้องสมุดบางพื้นที่อาจมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์เป็นบริเวณใหญ่เพื่อการค้นข้อมูลหรือการติดต่ออินเตอร์เนตหรือการค้นหาดัชนีหนังสือผ่านคอมพิวเตอร์ ก็ต้องพิถีพิถันในเรื่องโคมที่เลือกใช้ด้วยเพื่อไม่ให้มีแสงสะท้อนตัวโคมไปปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์  โคมที่จะใช้ในกรณีนี้ก็เหมือนโคมที่ติดตั้งในสำนักงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์กันมาก

          กรณีที่มีการพิถีพิถันมากในเรื่องของแสงในห้องสมุดก็ต้องพิจารณาในเรื่องของการกระพริบของแสงเนื่องจากความถี่หรือที่เรียกว่า สโตรโบสโคปิกเอฟเฟค (Stroboscopic Effect) ก็อาจแก้ไขในเรื่องการจ่ายไฟสามเฟสเข้าโคมเดียวที่มีสามหลอดโดยจ่ายหลอดละหนึ่งเฟส  แต่แบบนี้ค่อนข้างยุ่งยาก  ปัญหาดังกล่าวอาจทำให้ลดลงได้ด้วยการใช้บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งให้ผลทางด้านสโตรโบสโคปิกเอฟเฟคน้อยกว่าการใช้บัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดา  เพราะบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ให้ความถี่สูงประมาณ 23-30 Khz เข้าหลอดทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่เกิดกับการใช้บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์

5.3.5 อาคารเอนกประสงค์ หมายถึงอาคารที่สามารถใช้งานได้หลายอย่างซึ่งมักมีในเกือบทุกโรงเรียน  การใช้งานของอาคารเอนกประสงค์มีตั้งแต่ การจัดงานเลี้ยง  การเล่นกีฬา  การประชุม  ดังนั้นการให้แสงสว่างในอาคารดังกล่าวจึงต้องสามารถรองรับการใช้งานแบบต่างๆได้ ซึ่งอาจต้องประกอบด้วยระบบไฟฟ้าแสงสว่างตัวอย่างดังต่อไปนี้

          - แสงสว่างทั่วไปทั้งจากไฟฟ้าธรรมดาหรือไฟฟ้าสำรอง

- แสงสว่างหรี่ได้เพื่อการฉายวีดีโอ  สไลด์

- แสงสว่างฉุกเฉิน

- แสงสว่างหน้าเวทีสำหรับการบรรยาย

- แสงสว่างหน้าเวทีสำหรับการจัดงานเลี้ยง

          - แสงสว่างสำหรับการเล่นกีฬา

          อาคารเอนกประสงค์โดยทั่วไปมีเพดานสูง ดังนั้นจึงควรใช้โคมที่ใส่หลอดดีสชาร์จประเภทปรอทความดันสูง หรือเมทัลฮาไลด์ เพื่อเป็นการให้แสงทั่วไป  นอกจากนี้ควรมีโคมหลอดฮาโลเจนเพื่อสามารถหรี่แสงได้ตามต้องการเมื่อต้องการใช้งานบางอย่าง เช่นการฉายวีดีโอ หรือ สไลด์  นอกจากนั้นเมื่อไฟจากการไฟฟ้าดับและมีไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาจ่ายให้  หรือเมื่อไฟจากการไฟฟ้ากลับมา หลอดฮาโลเจนจะสว่างเพื่อให้มองเห็นก่อนเพราะหลอดดีสชาร์จยังไม่สามารถติดได้ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที  นอกจากนี้ควรมีไฟแสงสว่างฉุกเฉินที่จ่ายไฟมาจากแบตเตอรี่เพื่อให้สามารถมองเห็นได้เมื่อไฟฟ้าดับ เพราะอาคารดังกล่าวมีคนเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นไม่ควรให้มีไฟดับสนิทเป็นเวลานานสำหรับอาคารดังกล่าว    

          ไฟฟ้าแสงสว่างที่เวทีควรประกอบด้วยโคมไฟฟ้าเพื่อการส่องสว่างที่เวทีเพื่อการบรรยาย  สัมมนา  และกลุ่มโคมไฟแสงสว่างสำหรับการจัดงานเลี้ยงซึ่งอาจเตรียมในรูปของรางไฟแสงสว่าง (Light Track)  การจัดเตรียมไฟแสงสว่างที่เวทีอาจต้องเตรียมไว้หลายวงจรเพื่อสามารถควบคุมการปิดเปิดไฟบางกลุ่มในระหว่างการแสดงด้วย 

5.4 การส่องสว่างโรงพยาบาล

          การส่องสว่างภายในโรงพยาบาล มีพื้นที่ที่ต้องการให้แสงมากมายหลายแบบ และ แต่ละพื้นที่ก็มีการให้แสงที่แตกต่างกันออกไป    หลอดที่เหมาะที่จะใช้ในงานโรงพยาบาล คือ หลอดที่ 4000 องศาเคลวินเพราะให้สีแดงออกมาด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับการตรวจรักษาทั่วไปยกเว้นโรคดีซ่านซึ่งหลอดที่เหมาะ คือ หลอดที่มีสีน้ำเงิน คือ หลอดเดไลท์ เนื่องจากการเปลี่ยนสีผิวที่เหลืองเห็นได้ชัดในหลอดประเภทนี้  แต่อย่างไรก็ตามหลอดคูลไวท์ก็เหมาะสำหรับการรักษาส่วนใหญ่อยู่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าหลอดที่เหมาะที่สุดสำหรับงานโรงพยาบาล คือ หลอดคูลไวท์  

หลอดที่เหมาะสำหรับการตรวจรักษาโรคทั่วไปคือ หลอดคูลไวท์

ยกเว้นโรคดีซ่านที่ใช้หลอดเดย์ไลท์เหมาะกว่า

          หลอดที่ใช้ในงานโรงพยาบาลควรใช้หลอดที่เหมือนกันทั้งหมดเพื่อไม่ให้เกิดการหลอกตาเนื่องจากแสงที่ไม่เหมือนกันของหลอดในแต่ละพื้นที่เพราะอาจทำให้การตรวจวินิจฉัยโรคผิดได้  ยกเว้นบริเวณที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาหรือไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคก็อาจใช้หลอดชนิดอื่นเพื่อให้เกิดสีสันที่สวยงามได้

หลอดที่ใช้ในโรงพยาบาลควรใช้หลอดเหมือนกันทั้งหมด

เพื่อไม่ให้หลอกตาเนื่องจากแสงที่ไม่เหมือนกันในพื้นที่ข้างเคียงกัน

          ผู้คนที่มาโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วย ดังนั้นการให้แสงสว่างพึงระวังในเรื่องของแสงบาดตา โดยเฉพาะในบริเวณที่ผู้ป่วยมีโอกาสต้องนอนเตียงเพื่อการเคลื่อนย้าย โคมที่เหมาะสมสำหรับงานโรงพยาบาล คือ โคมประเภทที่มีลูมิแนนซ์ต่ำ เช่น โคมที่มีแผ่นกรองแสงเกล็ดแก้ว(Prismatic) หรือแผ่นกรองแสงขาวขุ่น(White Diffuser) เป็นต้น  นอกจากนี้คนไข้ที่นอนรถเข็นแล้วต้องถูกเข็นไปในโรงพยาบาลแล้วต้องมองขึ้นไปที่เพดานแล้วถ้าพบกับแสงบาดตา เช่น จากโคมสะท้อนแสงอะลูมิเนียม ทำให้รู้สึกไม่สบายมากขึ้น  แต่ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาเ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


krukong

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
ไฟฟ้ากำลัง