มารยาทในการรับประทานอาหาร

1. เมื่อได้รับเชิญไปรับประทานอาหารในงานพิธีใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานแบบไทยแบบฝรั่งย่อมใช้มารยาทสุภาพเช่นเดียวกันถ้าเป็นการรับประทานแบบนั่งเก้าอี้ก็ต้องนั่งตัวตรงเรียบร้อยแลใช้เครื่องใช้ในการรับประทานอาหารที่เป็นส่วนของตน เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม มีด จานแบ่ง ผ้าเช็ดมือ ถ้วยน้ำแลถ้วยเหล้า ถ้าเป็นอาหาร ไทยต้องใช้ช้อนกลางตักอาหารที่เป็นของกลาง ไม่ใช้เครื่องมือของตนเองตักอาหารซึ่งเป็นของกลาง

2. เวลารับประทานอาหารต้องรับประทานโดยระมัดระวัง ไม่ทำให้เลอะเทอะมูมมาม ควรหุบปากเวลาเคี้ยวอาหารเพื่อระวังมิให้มีเสียงดัง

3. ไม่ใช้มือของตนเองแตะต้องหรือหยิบอาหารที่ผู้อื่นจะบริโภค หรืออาหารที่เป็นของกลาง

4. ในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นต้องรอให้ผู้มีอาวุโสกว่านั่งก่อนจึงนั่ง แลผู้อาวุโสเริ่มรับประทานก่อนจึงรับประทาน

5. ถ้านั่งเก้าอี้ควรนั่งตัวตรง ไม่ท้าวศอกบนโต๊ะอาหารถ้านั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบเรียบร้อยแลตั้งตัวตรงไม่ท้าวแขน

6. การใช้ผ้าเช็ดมือ เมื่อเข้านั่งโต๊ะอาหารก่อนจะรับประทานควรหยิบผ้าเช็ดมือปูที่ตัก ก่อนดื่มควรใช้ผ้าเช็ดมือเช็ดปากก่อนทุกครั้งเพื่อมิให้แก้วเป็นคราบ ดื่มเสร็จแล้วเช็ดอีกครั้ง

7. ถือช้อนด้วยมือขวาแลส้อมด้วยมือซ้ายในเวลารับประทานอาหารแบบไทย

8. การซดน้ำซุบหรือน้ำแกง ย่อมซดจากข้างช้อนแลซดอย่างเงียบอย่าให้มีเสียงดัง

9. การใช้มีด มีไว้สำหรับตัดอาหาร จะนำไปจิ้มอาหารเข้าปากไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดใช้มีดส่งอาหารเข้าปากผู้นั้นเสียมารยาทอย่างมาก

10. ในการรับประทานอาหารน้ำชาหรือกาแฟ ช้อนกาแฟหรือช้อนชามีไว้สำหรับใช้คนเท่านั้นเมื่อคนเสร็จแล้วต้องว่างไว้ในจานรองถ้วยอย่าคาช้อนไว้ในถ้วย แลอย่าซดจากช้อนเป็นอันขาด

11. การรับประทานอาหารแบบไทยหรือแบบพึ่งตัวเอง เรารับประทานด้วยมองของเราเอง ก่อนรับประทานต้องล้างมือให้สะอาด ใช้ผ้าสะอาดปูลาดบนพื้นบ้าน ผู้ที่จะรับประทานนั่งลงล้อมวงกันตักข้าวใส่จานก้นตื้นให้ครับคนลงมือตักข้าวกับใส่จานด้วยช้อนกลาง ใช้มือขาวขยุ้มของที่ตักมากับข้าวในจานให้เป็นก้อนให้พอดีกับปากของตัว ใช้นิ้วหัวแม่มือผลักก้อนข้าว
ให้เข้าไปอยู่ในปาก ต้องระวังอย่าให้ร่วงหล่นออกจากปากจะเป็นการเสียมารยาท

12. การรับประทานอาหารชนิดช่วยตัวเองหรือบุ๊ฟเฟ่ท์ โดยมากจัดสำหรับเมื่อมีแขกมาก ๆ คือเจ้าของบ้านจะวางอาหารพร้อมทั้งคาวหวานแยกกันไว้เป็นหมู่ จัดอย่างสวยงามทั้งคาวหวาน แล้วเชิญแขกที่รับเชิญไปแบ่งรับประทานเองตามใจชอบ

13. ผู้รับเชิญจะเดินไปหยิบเครื่องมือสำหรับรับประทานก่อน เช่น จาน ชาม ส้อม ช้อน มีด และอื่น ๆ

14. เมื่อมีเครื่องอุปกรณ์พร้อมแล้วจึงเดินเลือกอาหารตามใจชอบ

15. เราควรจะรู้จักกระเพาะอาหารของเราให้ดีว่าจะบรรจุอาหารนักเท่าใด แล้วแบ่งให้พอดีกับความต้องการของตน อย่าโลภตักแบ่งไปจนรับประทานไม่หมด และอย่าแบ่งโดยคุ้ยเขี่ยทำลายความสวยงามที่เขาตบแต่งอาหารไว้

16. เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็วางไว้ที่ใดที่หนึ่งที่เหมาะแก่จานชามที่ใช้แล้ว หรือส่งให้คนรับใช้ที่เดินเก็บจานชามที่แขกรับประทานเสร็จแล้วก็ได้

สรุปได้ว่า..มารยาทในการรับประทานอาหาร

*เมื่อนั่งเก้าอี้แล้ว ให้หยิบผ้าเช็ดปากบนโต๊ะมากางออกแล้วพับวางไว้บนตัก
*เมื่อต้องลุกออกจากโต๊ะระหว่างรับประทานอาหาร ให้วางผ้าเช็ดปากนั้นลงบนเก้าอี้ หรือพนักวางแขน
*เมื่อรับประทานเสร็จแล้ว ขยุ้มๆผ้าวางไว้บนโต๊ะด้านขวา
*จำไว้ว่า จานขนมปังจะอยู่ทางซ้ายมือของคุณเสมอ
*หากหยิบผิดเมื่อไหร่ ก็จะผิดตามกันไปหมดทั้งโต๊ะ
*เริ่มรับประทานขนมปังได้เมื่ออาหารจานแรกเสิร์ฟแล้ว วิธีรับประทานที่ถูกต้องคือ
*บิขนมปังด้วยมือแล้วก็ทาเนยตรงชิ้นที่บินั้นก่อนนำเข้าปาก
*เมื่อใช้มีดป้ายเนยทาขนมปังเสร็จแล้ว ต้องวางคืนไว้ที่จานขนมปัง
*ท่องเอาไว้ว่า ใช้ช้อน ส้อม มีด จากด้านนอกสุดเข้ามาด้านในสุด
*และเวลารับประทานให้หั่นเป็นชิ้น กินทีละคำ
*อิ่มแล้ว ให้วางมีดและส้อมในจานเป็นรูปเข็มบอกเวลา 10 นาฬิกา
*เวลารับประทานซุป ให้ใช้ช้อนที่วางอยู่ทางขวามือ ตักซุปออกจากตัว
*จากนั้นให้วางช้อนบนจานรองถ้วยซุป
*ห้ามใช้มีดตักอาหารใส่ปากเด็ดขาด
*เพราะทุกคนจะหันมาจ้องมองคุณจนตาค้างเลยทีเดียว
*ไม่ควรเอาปลายมีดหรือส้อมชี้ไปทางโน้นทีทางนี้ที หรือชี้หน้าคนอื่น
*ไม่ควรวางผ้าเช็ดปากไว้บนโต๊ะ หากยังรับประทานอาหารไม่เสร็จ
*ไม่เท้าคางบนโต๊ะอาหารเด็ดขาด
*สูบบุหรี่และแคะฟันบนโต๊ะอาหาร ถือเป็นการเสียมารยาทที่สุด

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


napart

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
การโรงแรมและการท่องเที่ยว