ศธ02 RMS2007 และ NEIS กับนโยบาย 3Ns
ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมดำนินโครงการจัดนิทรรศการในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง คุณภาพ ICT เพื่อการศึกษาไทยในอนาคต ในวันที่ 15 พ.ย. 2553 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งในงานนี้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศ นโยบาย 3Ns โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงความสำคัญในการใช้ ICT เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนการสอน รวมทั้งคุณภาพของ ICT ที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาของไทย ได้แก่
* ระบบเครือข่ายเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (National Education Network หรือ NEdNet) คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่าย เพื่อใช้เป็นเส้นทางหลักในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ สาระการเรียนรู้ ผลงานวิจัย และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านการศึกษาไปยังสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
* ศูนย์สารสนเทศด้านการศึกษาแห่งชาติ (National Education Information System หรือ NEIS) คือ การพัฒนาศูนย์กลางการรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการสืบค้น การประมวลผล และการเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลสำคัญทางด้านการบริหารจัดการของกระทรวง ศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
* ศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ (National Learning Center หรือ NLC) คือ การพัฒนาศูนย์กลางการรวบรวม และเชื่อมโยงสาระความรู้ของการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทการศึกษา ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนถึงการวิจัยของผู้เรียนและประชาชน
การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว นอกจากจะมีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว ยังมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยได้รับการสนับสนุนด้วยเงินงบประเดิมกองทุนจากรัฐบาลจำนวน ๕ ล้านบาท และจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จำนวน ๑๐๐ ล้านบาท โดยจะมอบให้ในครั้งนี้ ๗๕ ล้านบาท และจะมอบในเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ อีก ๒๕ ล้านบาท
ในส่วนที่ผมและอาจารย์มานิตย์ หิมานันโตแห่งวิทยาลัยเทคนิคชลบุรีได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษารับผิดชอบจัดนิทรรศการในงานสัมมนาวิชาการดังกล่าวโดยรับผิดชอบให้นำเสนอระบบ RMS ที่ใช้ในงานบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา NEIS นั่นเอง นับเป็นความสำเร็จและภาคภูมิของชาวอาชีวศึกษที่วันนี้กล่าวได้ว่า เรามีข้อมูลรายบุคคลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่การบริหารภายในสถานศึกษาจากระบบ ศธ.02 ของท่านอาจารย์มานิตย์ หิมานันโต ซึ่งใช้ในงานทะเบียน หลักสูตรและวัดผลการศึกษา และถ่ายโอนข้อมูลเดียวกันนี้มาใช้ในงานเพื่อการบริหารจัดการอาชีวศึกษาผ่านระบบ RMS2007 ของวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ในระบบดูแลนักเรียนนักศึกษา ระบบบริหารงานบุคคลากร ระบบสารบัญอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลชุดเดียวกันนี้ก็เป็นข้อมูลที่สถานศึกษาได้ถ่ายโอนไปยังระบบบริหารจัดการข้อมูลนักเรียนนักศึกษารายบุคคลเพื่อประกอบการจัดสรรงบประมาณต่อหัว BMS ซึ่งประโยชน์ของข้อมูลรายบุคคลที่เราพบเห็นได้แก่เมื่อเกิดกรณีที่มีการวิวาทของนักศึกษาในกทม. นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต้องการข้อมูลนักศึกษาเป็นรายบุคคลจัดส่งไปยังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศทก. สป.ศธ.) สถานศึกษาทั้ง 12 แห่งของสำนักงานคณะกรรมการการาอาชีวศึกษาไม่ต้องจัดส่งข้อมูลมาอีกเนื่องจากเราได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อย ขณะที่หน่วยงานอื่นๆต้องดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดส่งเป็นต้น
ความสำเร็จเหล่านี้เกิดมาจากความตั้งใจจริงของ สอศ.ในการจัดทำข้อมูลและกำหนดมาตรฐานกลางในการส่งข้อมูล ซึ่งเพื่อนพ้องชาวอาชีวศึกษาต้องเหน็ดเหนื่อยทำกันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 3 ครั้งซึ่งข้อมูลเหล่านี้ในอนาคต จะเป็นตัวกำหนดและใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อวางกรอบนโยบายการศึกษาต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ในความเห็นส่วนตัว ความสำเร็จเหล่านี้มาจากความมุ่งมั่นของคนตัวเล็กๆที่ทำอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16 ปีของอาจารย์มานิตย์ หิมานันโต ที่เรารู้จักกันดีในฐานะผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ระบบงานทะเบียนที่เรียกกันคุ้นปากว่า ศธ.02 นั่นเอง หน่วยงานอื่นๆ หรือแท่งอื่นๆ มีซอฟท์แวร์กลางหลายตัว และจ้างบริษัทเขียนเมื่อมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล ไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากแต่ สอศ.เรามีอาจารย์มานิตย์ที่ขยันเขียนและปรับปรุงซอฟท์แวร์อย่างสม่ำเสมอ(นั่นคืออีกเหตุผลหนึ่งที่หลายคนบ่นว่าทำไมเปลี่ยนแปลงซอฟท์แวร์บ่อย ทำไมต้องอบรมทุกปี) ให้ทันต่อความต้องการของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สุดท้าย NEIS จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากขาดการทำหน้าที่เหมือนที่คุณตัน ภาสกรนที กล่าวไว้ว่าในองค์การก็เหมือนนาฬิกา ที่มีเข็มวินาที ที่ทำงานอย่างมากซึ่งเปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ มีเข็มนาทีที่ขยับหนึ่งครั้งมีค่าเท่ากับหนึ่งนาที เปรียบเสมือนครูและผู้บริหารในสถานศึกษา และมีเข็มชั่วโมงหรือเข็มสั้นเปรียบเสมอืนผู้บริหารใน สอศ. ที่ทำงานเพียงครั้งเดียวแต่มีผลต่อเวลาหนึ่งชั่วโมง เหล่านี้แล้วหากทุกภาคส่วนยังทำหน้าที่อย่างแข็งขันและเชื่อมั่นในงานแห่งตนย่อมส่งผลต่อความเที่ยงตรงและเดินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งเปรียบดั่งเช่นเวลานั่นเอง
* ระบบเครือข่ายเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (National Education Network หรือ NEdNet) คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่าย เพื่อใช้เป็นเส้นทางหลักในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ สาระการเรียนรู้ ผลงานวิจัย และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านการศึกษาไปยังสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
* ศูนย์สารสนเทศด้านการศึกษาแห่งชาติ (National Education Information System หรือ NEIS) คือ การพัฒนาศูนย์กลางการรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการสืบค้น การประมวลผล และการเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลสำคัญทางด้านการบริหารจัดการของกระทรวง ศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
* ศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ (National Learning Center หรือ NLC) คือ การพัฒนาศูนย์กลางการรวบรวม และเชื่อมโยงสาระความรู้ของการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทการศึกษา ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนถึงการวิจัยของผู้เรียนและประชาชน
การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว นอกจากจะมีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว ยังมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยได้รับการสนับสนุนด้วยเงินงบประเดิมกองทุนจากรัฐบาลจำนวน ๕ ล้านบาท และจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จำนวน ๑๐๐ ล้านบาท โดยจะมอบให้ในครั้งนี้ ๗๕ ล้านบาท และจะมอบในเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ อีก ๒๕ ล้านบาท
ในส่วนที่ผมและอาจารย์มานิตย์ หิมานันโตแห่งวิทยาลัยเทคนิคชลบุรีได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษารับผิดชอบจัดนิทรรศการในงานสัมมนาวิชาการดังกล่าวโดยรับผิดชอบให้นำเสนอระบบ RMS ที่ใช้ในงานบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา NEIS นั่นเอง นับเป็นความสำเร็จและภาคภูมิของชาวอาชีวศึกษที่วันนี้กล่าวได้ว่า เรามีข้อมูลรายบุคคลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่การบริหารภายในสถานศึกษาจากระบบ ศธ.02 ของท่านอาจารย์มานิตย์ หิมานันโต ซึ่งใช้ในงานทะเบียน หลักสูตรและวัดผลการศึกษา และถ่ายโอนข้อมูลเดียวกันนี้มาใช้ในงานเพื่อการบริหารจัดการอาชีวศึกษาผ่านระบบ RMS2007 ของวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ในระบบดูแลนักเรียนนักศึกษา ระบบบริหารงานบุคคลากร ระบบสารบัญอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลชุดเดียวกันนี้ก็เป็นข้อมูลที่สถานศึกษาได้ถ่ายโอนไปยังระบบบริหารจัดการข้อมูลนักเรียนนักศึกษารายบุคคลเพื่อประกอบการจัดสรรงบประมาณต่อหัว BMS ซึ่งประโยชน์ของข้อมูลรายบุคคลที่เราพบเห็นได้แก่เมื่อเกิดกรณีที่มีการวิวาทของนักศึกษาในกทม. นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต้องการข้อมูลนักศึกษาเป็นรายบุคคลจัดส่งไปยังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศทก. สป.ศธ.) สถานศึกษาทั้ง 12 แห่งของสำนักงานคณะกรรมการการาอาชีวศึกษาไม่ต้องจัดส่งข้อมูลมาอีกเนื่องจากเราได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อย ขณะที่หน่วยงานอื่นๆต้องดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดส่งเป็นต้น
ความสำเร็จเหล่านี้เกิดมาจากความตั้งใจจริงของ สอศ.ในการจัดทำข้อมูลและกำหนดมาตรฐานกลางในการส่งข้อมูล ซึ่งเพื่อนพ้องชาวอาชีวศึกษาต้องเหน็ดเหนื่อยทำกันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 3 ครั้งซึ่งข้อมูลเหล่านี้ในอนาคต จะเป็นตัวกำหนดและใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อวางกรอบนโยบายการศึกษาต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ในความเห็นส่วนตัว ความสำเร็จเหล่านี้มาจากความมุ่งมั่นของคนตัวเล็กๆที่ทำอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16 ปีของอาจารย์มานิตย์ หิมานันโต ที่เรารู้จักกันดีในฐานะผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ระบบงานทะเบียนที่เรียกกันคุ้นปากว่า ศธ.02 นั่นเอง หน่วยงานอื่นๆ หรือแท่งอื่นๆ มีซอฟท์แวร์กลางหลายตัว และจ้างบริษัทเขียนเมื่อมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล ไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากแต่ สอศ.เรามีอาจารย์มานิตย์ที่ขยันเขียนและปรับปรุงซอฟท์แวร์อย่างสม่ำเสมอ(นั่นคืออีกเหตุผลหนึ่งที่หลายคนบ่นว่าทำไมเปลี่ยนแปลงซอฟท์แวร์บ่อย ทำไมต้องอบรมทุกปี) ให้ทันต่อความต้องการของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สุดท้าย NEIS จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากขาดการทำหน้าที่เหมือนที่คุณตัน ภาสกรนที กล่าวไว้ว่าในองค์การก็เหมือนนาฬิกา ที่มีเข็มวินาที ที่ทำงานอย่างมากซึ่งเปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ มีเข็มนาทีที่ขยับหนึ่งครั้งมีค่าเท่ากับหนึ่งนาที เปรียบเสมือนครูและผู้บริหารในสถานศึกษา และมีเข็มชั่วโมงหรือเข็มสั้นเปรียบเสมอืนผู้บริหารใน สอศ. ที่ทำงานเพียงครั้งเดียวแต่มีผลต่อเวลาหนึ่งชั่วโมง เหล่านี้แล้วหากทุกภาคส่วนยังทำหน้าที่อย่างแข็งขันและเชื่อมั่นในงานแห่งตนย่อมส่งผลต่อความเที่ยงตรงและเดินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งเปรียบดั่งเช่นเวลานั่นเอง