การอนุรักษ์พลังงาน'เครื่องใช้ไฟฟ้า'
โดยทั่วไป 'เครื่องใช้ไฟฟ้า' ภายในบ้านมักมีการใช้พลังงานสูงแทบทุกชนิด ดังนั้นผู้ใช้ควรต้องมีความรู้ และทราบถึงวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดค่าไฟฟ้าภาย ในบ้านลง และลดปัญหาในเรื่องการใฃ้พลังงานอย่างผิดวิธีด้วย เอกสารนี้จะขอกล่าวถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่ยังไม่ได้จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่มา ก่อนหน้านี้
เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าสามารถแบ่งตามลักษณะของการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ
1. เครื่องทำน้ำอุ่นแบบทำน้ำอุ่นได้จุดเดียว
2. เครื่องทำน้ำอุ่นแบบทำน้ำอุ่นได้หลายจุด ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากกว่าแบบ จุดเดียว
ส่วนประกอบและการทำงาน
เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้น้ำร้อนขึ้นโดยอาศัยการพากความร้อยจาก ขดลวดความร้อน (Heater) ขณะที่กระแสน้ำไหลผ่าน ส่วนประกอบหลักของเครื่องทำน้ำอุ่น คือตัวถังน้ำ ขดลวดความร้อน
(Heater) และอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat)
ตัวถังน้ำ จะบรรจุน้ำซึ่งจะถูกทำให้ร้อน
ขดลวดความร้อน (Heater) จะร้อนขึ้นเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่าน คือ เมื่อเราเปิด สวิตซ์เครื่องทำน้ำอุ่นนั่นเอง ลวดความร้อนนี้โดยมากส่วนในสุดจะเป็นลวดนิโครม ส่วนที่อยู่ตรง กลางจะเป็นผงแมกนีเซียมออกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าและทนอุณหภูมิสูง ชั่น นอกสุดจะเป็นท่อโลหะที่อาจทำด้วยทองแดงหรือสเตนเลส
อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ลวดความร้อนเมือ่อุณหภูมิของน้ำถึงระดับที่เราตั้งไว้
การใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี
- ควรพิจารณาเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นให้เหมาะสมกับการใช้เป็นหลัก เช่น ต้องการ ใช้น้ำอุ่นเพื่ออาบน้ำเท่านั้นก็ควรจะติดตั้งชนิดทำน้ำอุ่นได้จุดเดียว
- ควรเลือกใช้ฝักบัวชนิดประหยัดน้ำ (Water Efficient Showerhead)เพราะ สามารถประหยัดน้ำได้ถึงร้อยละ 25-75
- ควรเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีถังน้ำภายในตัวเครื่องและมีฉนวนหุ้ม เพราะ สามารถลดการใช้พลังงานได้ร้อยละ 10-20
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าชนิดที่ไม่มีถังน้ำภายในเพราะจะทำให้สิ้น เปลืองการใช้พลังงาน
- ปิดวาล์วน้ำและสวิตซ์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน
การดูแลรักษา
ควรหมั่นตรวจสอบการทำงานของเครื่องให้มีสภาพดีอยู่เสมอ ตลอดจนตรวจดูระบบท่อ น้ำและรอยต่ออย่าให้มีการรั่วซึมและเมื่อเครื่องมีปัญหาตวรตรวจสอบ ดังนี้
- ถ้าน้ำที่ออกจากเครื่องน้ำเย็น อันเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ขดลวดความร้อน สาเหตุอาจเกิดจากฟิวส์ขาด อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้ไฟผ่าน
- ถ้าไฟสัญญานติดแต่ขดลวดความร้อนไม่ทำงาน น้ำไม่อุ่น สาเหตุอาจเกิดจากขดลวด ความร้อนขาด อุปกณ์ควบคุมอุณหภูมิเสีย
- ถ้าน้ำจากเครื่องร้อนหรือเย็นเกินไป สาเหตุอาจเกิดจากอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิทำงาน ผิดปกติ

ขนาดของโทรทัศน์ เช่น 14 นิ้ว หรือ 20 นิ้ว นี้ดูได้จากการวัดทแยงจากมุมหนึ่ง ไปยังอีกมุมหนึ่งของหน้าจอโทรทัศน์
ส่วนประกอบและการทำงาน
โทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีวงจรสลับซับซ้อน ดังนั้นส่วนประกอบ ของโทรทัศน์จึงพอสรุปให้เห็นได้ชัดเจนดังนี้ คือ
1. ส่วนประกอบภายนอก คือตัวโครงที่หุ้มห่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จอภาพซึ่ง จะมีการเคลือบสารพิเศษทางด้านใน ปุ่มหรือสวิตซ์ต่างๆ และจุดเสียบสายอากาศ เป็นต้น
2. ส่วนประกอบภายใน คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวรับ-เปลี่ยนสัญญาณของ ภาพและเสียงที่มาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนประกอบของจอภาพและระบบเสียง รวมทั้งลำโพง เป็นต้น
การทำงานของโทรทัศน์นั้นจะเริ่มต้นจากเมื่อคลื่นของภาพและเสียงที่ออกมาจาก แหล่งกำเนิด เช่นสถานีโทรทัศน์
มาสู่เสาอากาศที่เป็นตัวรับสัญญาณคลื่น สัญญาณคลื่นจะ ส่งมาตามสายเข้าสู่ตัวรับสัญญาณภายในโทรทัศน์ ตัวรับสัญญาณคลื่นจะแยกคลื่นภาพกับ คลื่นเสียงออกจากกัน สัญญาณคลื่นภาพจะถูกส่งไปยังหลอดภาพ เพื่อเปลี่ยนสัญญาณคลื่น เป็นสัญญาณไฟฟ้า
การเปลี่ยนสัญญาณคลื่นเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ขั้วของหลอดภาพจะก่อให้เกิดลำ อิเล็กตรอนวิ่งจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง คือ จอภาพที่ด้านในเคลือบสารชนิดหนึ่ง เมื่อลำอิเล็กทรอนิกส์วิ่งไปกระทบจอภาพก็ทำให้เกิดเป็นภาพโดยการถ่ายเทพลังงานในลักษณะนิ่ง เรียกว่าการวาดภาพ โดยกวาดเป็นเส้นทางตามแนวนอนจำนวน 525 เส้น หรือแบบ 625 เส้น ก่อให้เกิดรูปภาพออกมาทางด้านหน้าของจอภาพตามที่เราเห็นอันเนื่องจากการเรืองของ สารเคลือบนั้น
การเลือกใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน
- การเลือกใช้โทรทัศน์ควรคำนึงถึงความต้องการใช้งาน โดยพิจารณาจากขนาดและการใช้กำลังไฟฟ้า
- โทรทัศน์สีระบบเดียวกันแต่ขนาดต่างกัน จะใช้พลังงานต่างกันด้วย กล่าวคือ
โทรทัศน์สีที่มีขนาดใหญ่และมีราคาแพงกว่า จะใช้กำลังไฟมากกว่าโทรทัศน์สี ขนาดเล็ก เช่น
- ระบบทั่วไป ขนาด 16 นิ้ว จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า ขนาด 14 นิ้ว ร้อยละ 5 หรือ
- ขนาด 20 นิ้ว จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า ขนาด 14 นิ้ว ร้อยละ 30
- ระบบรีโมทคอนโทรล ขนาด 16 นิ้ว จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า ขนาด 14 นิ้ว ร้อยละ5
- หรือขนาด 20 นิ้ว จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า ขนาด 14 นิ้ว ร้อยละ 34
- โทรทัศน์สีที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าโทรทัศน์สีระบบทั่วไป ที่มีขนาดเดียวกัน เช่น
- โทรทัศน์สีขนาด 16 นิ้ว ระบบรีโมทคอนโทรลเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าระบบธรรมดา ร้อยละ 5
- โทรทัศน์สีขนาด 20 นิ้ว ระบบรีโมทคอนโทรลเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าระบบธรรมดา ร้อยละ 18
- อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ เพราะโทรทัศน์จะมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงระบบภายในอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่ฟ้าแลบได้
-
ปิดเมื่อไม่มีคนดู หรือตั้งเวลาปิดโทรทัศน์โดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยประหยัด ไฟฟ้า
- ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องเล่นวิดีโอในขณะที่ยังไม่ต้องการใช้ เพราะเครื่องเล่นวิดีโอ จะทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เสียค่าไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
- พิจารณาเลือกดูรายการเอาไว้ล่วงหน้า ดูเฉพาะรายการที่เลือกตามช่วงเวลานั้นๆหากดูรายการเดียวกันควรเปิดโทรทัศน์เพียงเครื่องเดียว
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาและใช้โทรทัศน์ให้ถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้โทรทัศน์เกิดความคง ทน ภาพที่ได้ชัดเจน และมีอายุการทำงานยาวนานขึ้นแล้ว ผลพลอยได้อีกส่วนหนึ่งก็คือ ประหยัดพลังงาน
- ควรเลือกใช้เสาอากาศภายนอกบ้านที่มีคุณภาพดี และติดตั้งถูกต้องตามหลัก วิชาการ เช่น หันเสาไปทางที่ตั้งของสถานีในลักษณะให้ตั้งฉาก เป็นต้น
- ควรวางโทรทัศน์ไว้ในจุดที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี และตั้งห่างจากผนังหรือ มูลี่อย่างน้อยประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อให้เครื่องสามารถระบายความร้อนได้สะดวก
- ไม่ควรปรับจอภาพให้สว่างมากเกินไป เพราะจะทำให้หลอดภาพมีอายุสั้น และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
- ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวตู้โทรทัศน์ ส่วนจอภาพควรใช้ผงซักฟอกอย่างอ่อน หรือน้ำ ยาล้างจานผสมกับน้ำ ชุบทาบางๆ แล้วเช็ดด้วยผ้านุ่มให้แห้ง โดยอย่าลืมถอดปลั๊กออก ก่อนทำความสะอาด
- อย่าถอดด้านหลังของเครื่องด้วยตนเอง เพราะอาจจะเกิดความเสียหายต่อ โทรทัศน์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรทัศน์สีจะผลิตกระแสไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage) ซึ่งเป็นอันตรายต่อการสัมผัส แม้ว่าจะปิดไฟแล้วก็ตาม
ส่วนประกอบและการทำงาน
- ส่วนประกอบหลักของพัดลม แบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ใบพัดและตะแกรง คลุมใบพัด มอเตอร์ไฟฟ้า สวิตซ์ควบคุมการทำงาน และกลไกที่ทำให้พัดลมหยุดกับที่หรือ หมุนส่ายไปมา
- พัดลมจะทำงานได้เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ และเมื่อกดปุ่มเลือกให้ลมแรงหรือ เร็วตามที่ผู้ใช้ต้องการ กระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ตัวมอเตอร์ ทำให้แกนมอเตอร์หมุ่น ใบพัดที่ติดอยู่กับแกนก็จะหมุนตามไปด้วยจึงเกิดลมพัดออกมา
การใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี
พัดลมตั้งโต๊ะจะมีราคาต่ำกว่าพัดลมตั้งพื้น และใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะ มีขนาดมอเตอร์และกำลังไฟต่ำกว่า แต่พัดลมตั้งพื้นจะให้ลมมากกว่า ดังนั้นในการเลือกใช้ จึงมีข้อที่ควรพิจารณาดังนี้
- พิจารณาตามความต้องการและสถานที่ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้เพียงคนเดียว หรือ ไม่เกิน 2 คน ควรใช้พัดลมตั้งโต๊ะ
- อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ โดยเฉพาะพัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรล เพราะจะมี ไฟฟ้าไหลเข้าตลอดเวลา เพื่อหล่อเลี้ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- ควรเลือกใช้ความแรงหรือความเร็วของลมให้เหมาะสมกับความต้องการและสถาน ที่ เพราะหากความแรงของลมมากขึ้นจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
- เมื่อไม่ต้องการใช้พัดลมควรรีบปิด เพื่อให้มอเตอร์ได้มีการพักและไม่เสื่อมสภาพ เร็วเกินไป
- ควรวางพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศจาก บริเวณรอบๆ ทางด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า เช่น ถ้าอากาศบริเวณรอบ พัดลมอับซื้น ก็จะได้ในลักษณะลมร้อนและอับชื้นเช่นกัน นอกจากนี้มอเตอร์ยังระบายความ ร้อนได้ดีขึ้น ไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาพัดลมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้พัดลมทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และ ยังช่วยยือดอายุการทำงานให้ยาวนานขึ้น โดยมีวิธีการดังนี้
- หมั่นทำความสะอาดตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบพัดและตะแกรงครอบ ใบพัด อย่าให้ฝุ่นละอองเกาะจับและต้องดูแลให้มีสภาพดีอยู่เสมอ อย่าให้แตกหักหรือชำรุด หรือโค้งงอผิดสัดส่วนจะทำให้ลมที่ออกมามีความแรงหรือความเร็วลดลง
- หมั่นทำความสะอาดช่องลมตรงฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบาย ความร้อนของมอเตอร์ อย่าให้มีคราบน้ำมันหรือฝุ่นละอองเกาะจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิ ภาพของมอเตอร์ลดลง และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ประโยชน์ในการต้มน้ำให้ร้อนเพื่อใช้ดื่ม และจัดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าสูงตัวหนึ่งเดช่นเดียวกับเตารีดไฟฟ้า โดยอาศัยหลัการทำงานเดียวกันคือ ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความร้อนที่อยู่ภายในอุปกรณ์ แล้ว นำความร้อนนั้นไปใช้ประโยชน์ เช่น กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าใช้ต้มน้ำร้อน ส่วนเตารีดไฟฟ้าใช้ใน การรีดผ้าให้เรียบ ซึ่งกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าโดยทั่วไปจะมีขนาดที่ใช้ำลังไฟฟ้าระหว่าง 500-1,300 วัตต์ ดังนั้นหากเรารู้จักใช้อย่างถูกวิธีก็จะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าลงได้
ส่วนประกอบและการทำงาน
ส่วนประกอบหลักของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ประกอบด้วยขดลวดความร้อน (Heater) อยู่ด้านล่างของตัวกระติก และอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) เป็นอุปกรณ์ควบคุม การทำงาน
- หลักการทำงานของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าคือ เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความ ร้อนจะเกิดความร้อน ความร้อนจะถ่ายเทไปยังน้ำภายในกระติก ซึ่งจะทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูง ขึ้นจนถึงจุดเดือด อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะตัดกระแสไฟฟ้าในวงจรหลักออกไป แต่ยังคงมี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความร้อนบางส่วน โดยไหลผ่านหลอดไฟสัญญาณอุ่น ในช่วงนี้จะ เป็นการอุ่นน้ำ เมื่ออุณหภูมิของน้ำร้อนภายในกระติกลดลงจนถึงจุดๆ หนึ่ง อุปกรณ์ควบคุม อุณหภูมิจะทำงานโดยปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความร้อนเต็มที่ ทำให้น้ำเดือดอีกครั้ง
- การปล่อยน้ำออกจากกาทำได้โดยกดที่ฝากดอากาศซึ่งอยู่ทางด้านบนของกา อากาศ จะถูกอัดเข้าไปภายในกา โดยผ่านทางรูระบายอากาศของฝาปิดภายในของกา ดังนั้นภายในกาจึง มีแรงกดดันที่มากพอที่จะให้น้ำที่อยู่ภายในวิ่งขึ้นไปตามท่อและออกทางพวยกาได้
การใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี
- ควรเลือกซื้อรุ่นที่มีฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพ
- ใส่น้ำให้พอเหมาะกับความต้องการหรือไม่สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ เพราะนอกจาก ไม่ประหยัดพลังงานยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระติก
- ระวังอย่าให้น้ำแห้งหรือปล่อยให้ระดับน้ำต่ำกว่าขีดกำหนด เพราะเมื่อน้ำแห้ง จะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในกระติกน้ำร้อน เป็นอันตรายอย่างยิ่ง
- ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้น้ำร้อนแล้ว เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ไม่ควรเสียบปลั๊ก ตลอดเวลา ถ้าไม่ต้องการใช้น้ำแล้ว แต่ถ้าหากมีความต้องการใช้น้ำร้อนเป็นระยะๆ ติดต่อกัน เช่น ในสถานที่ทำงานบางแห่งที่มีน้ำร้อนไว้สำหรับเตรียมเครื่องดื่มต้อนรับแขกก็ไม่ควรดึง ปลั๊กออกบ่อยๆ เพราะทุกครั้งเมื่อดึงปลั๊กออกอุณหภูมิของน้ำจะค่อยๆ ลดลง กระติกน้ำร้อน ไม่สามารถเก็บความร้อนได้นาน เมื่อจะใช้งานใหม่ก็ต้องเสียบปลั๊กและเริ่มทำการต้มน้ำใหม่ เป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน
- ไม่ควรเสียบปลั๊กตลอดเวลา ถ้าไม่ต้องการใช้น้ำร้อนแล้ว
- อย่านำสิ่งใดๆ มาปิดช่องไอน้ำออก
- ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในสภาพใช้งานได้เสมอ
- ไม่ควรตั้งไว้ในห้องที่มีการปรับอากาศ
การดูแลรักษา
การดูแลรักษากระติกน้ำร้อนให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น และลดการใช้พลังงานลง และป้องกันอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ มีวิธีการดังนี้
- หมั่นตรวจดูสายไฟฟ้าและขั้วปลั๊ก ซึ่งมักเป็นจุดที่ขัดข้องเสมอ
- ควรต้มน้ำที่สะอาดเท่านั้น มิฉะนั้นผิวในกระติกอาจเปลี่ยนสี เกิดคราบสนิม และตะกรัน
- หมั่นทำความสะอาดตัวกระติกด้านใน อย่าให้มีคราบตะกรัน เพราะจะเป็นตัวต้าน ทานการถ่ายเทความร้อนจากขดลวดความร้อนไปสู่น้ำ เพิ่มเวลาการต้มน้ำและสูญเสียพลังงาน โดยเปล่าประโยชน์
- เมื่อไม่ต้องการใช้กระติก ควรล้างกระติกด้านในให้สะอาดแล้วคว่ำกระติกลงเพื่อให้ น้ำออกจากตัวกระติก แล้วใช้ผ้าเช็ดด้านในให้แห้ง
- ก่อนทำความสะอาดด้านในกระติก ควรเทน้ำภายในออกให้หมด รอให้ตัวกระติก เย็นจึงค่อยทำความสะอาด
- ควรทำความสะอาดส่วนต่างๆ ของกระติก ตามคำแนะนำต่อไปนี้ ตัวและฝากระติก ใช้ผ้าชุบน้ำ บิดให้หมาดแล้วเช็ดอย่างระมัดระวัง ฝาปิดด้านใน ใช้น้ำหรือน้ำยาล้างจานให้สะอาด ตัวกระติกด้านใน ใช้ฟองน้ำชุบเช็ดให้ทั่ว ล้างให้สะอาดด้วยน้ำ เทน้ำที่ใช้ล้างออกให้ หมด อย่าราดน้ำลงบนส่วนอื่นของตัวกระติกนอกจากภายในกระติกเท่านั้น อย่าใช้ของมีคม หรือฝอยขัดหม้อขูดหรือขัดตัวกระติกด้านใน เพราะจะทำให้สารเคลือบหลุดได้
เครื่องดูดฝุ่น
เครื่องดูดฝุ่นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะหรือการใช้งาน ดังนี้
1. แบ่งตามรูปทรงหรือโครงสร้าง มี 3 แบบ คือ
- แบบดูดฝุ่นโดยตรง จะดูดฝุ่นจากพื้นเข้าเครื่องโดยตรง เหมาะที่จะใช้ดูดฝุ่น บนพื้นในบริเวณกว้างๆ
- แบบทรงกระบอก เป็นเครื่องขนาดเล็กใช้กับการดูดฝุ่นที่มีน้อย สามารถ ถือหรือหิ้วไปมาได้สะดวก เหมาะที่จะใช้ในบ้านเรือนและรถยนต์
- แบบกระป๋อง ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป จะมีล้อสำหรับเคลื่อนย้ายในขณะทำ การดูดฝุ่น ใช้กับงานที่ฝุ่นมาก
2. แบ่งตามลักษณะการดูดฝุ่น มี 3 แบบ
- ดูดฝุ่นเข้าเครื่องโดยตรง โดยเครื่องไม่ได้ทำให้ฝุ่นกระจายก่อนดูดเข้า เครื่อง ผู้ผลิตบางรายอาจผลิตแปรงติดที่ปลายท่อดูด เพื่อให้ดูดฝุ่นได้มีประสิทธิภาพขึ้น เครื่องดูดฝุ่นแบบนี้ได้แก่ชนิดทรงกระบอกและแบบกระป๋อง
- ดูดฝุ่นแบบสั่นสะเทือน เครื่องจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายก่อน แล้วจึงค่อยดูด เข้าเครื่อง ที่ช่องทางดูดฝุ่นจะมีแกนหมุนซึ่งมีแปรงและบ่านูนหรือแท่งที่เกิดจากการสั่นสะเทือนใน ขณะทำงาน ทำให้เหมาะกับการดูดฝุ่นที่ติดอยู่ในพรมปูพื้นหนาๆ ได้เป็นอย่างดี
- ดูดฝุ่นแบบแปรงหมุน จะมีลักษณะคล้ายแบบสั่นสะเทือนแต่ไม่มีบ่านูน แต่จะมีขนแปรงอยู่โดยรอบแกนหมุน เพื่อช่วยให้ฝุ่นที่เกาะตามพื้นหลุด และกระจายออกก่อนที่จะ ถูกดูดเข้าเครื่อง เหมาะที่จะใช้ดูดฝุ่นบนพรมที่ไม่หนามากนัก
ส่วนประกอบและการทำงาน
ส่วนประกอบหลักของเครื่องดูดฝุ่น ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ พัดลมดูด มอเตอร์ ไฟฟ้าขับเคลื่อนพัดลม ถุงผ้าหรือกล่องเก็บฝุ่น หัวดูดหลายแบบและท่อดูดที่สามารถขยาย ความยาวได้ตามประโยชน์ใช้สอย และแผ่นกรองหรือตะแกรงดักฝุ่นละอองไม่ให้ผ่านเข้ามอเตอร์
เครื่องดูดฝุ่นจะเริ่มทำงานเมื่อเปิดสวิตซ์พัดลมดูด ซึ่งจะดูดเอาฝุ่นละอองเข้ามาตาม ท่อดูด และถูกเก็บที่ถุงเก็บหรือกล่องเก็บฝุ่น เครื่องดูดฝุ่นชนิดที่ทำความสะอาดพื้น จะมีแปรงปัดฝุ่นช่วยในการปัดฝุ่นให้กระจายขึ้นจากพื้น เพื่อให้ดูดฝุ่นได้สะดวกขึ้น
การใช้อย่างประหยัดพลังงานแและถูกวิธี
- ควรเลือกขนาดของเครื่องตามความจำเป็นในการใช้งาน - วัสดุที่เป็นพรมหรือผ้าซึ่งฝุ่นสามารถเกาะอย่างแน่นหนา ควรใช้เครื่องที่มีขนาด กำลังไฟฟ้ามาก (Heavy Duty) ส่วนบ้านเรือนที่เป็นพื้นไม้ พื้นปูน หรือหินอ่อนที่ง่ายต่อการ ทำความสะอาด เพราะฝุ่นละอองไม่เกาะติดแน่น ก้ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำ ซึ่งจะไม่สิ้นเปลืองการใช้ไฟฟ้า
- ควรหมั่นถอดตัวกรองหรือตะแกรงดักฝุ่นออกมาทำความสะอาด เพราะถ้เกิด การอุดตัน นอกจากจะทำให้ลดประสิทธิภาพการดูด ดูดฝุ่นไม่เต็มที่ และเพิ่มเวลาการดูดฝุ่น เป็นการเพิ่มปริมาณการใช้ไฟฟ้าของมอเตอร์ที่ต้องทำงานหนักและอาจไหม้ได้
- ควรใช้ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อเป็นการระบายความร้อนของตัวมอเตอร์
- ไม่ควรใช้ดูดวัสดุที่มีส่วนประกอบของน้ำ ความชื้น และของเหลวต่างๆ รวมทั้งสิ่ง ของที่มีคม และของที่กำลังติดไฟ เช่น ใบมีดโกน บุหรี่ เป็นต้น เพราะอาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อส่วนประกอบต่างๆ
- ควรหมั่นถอดถุงผ้าหรือกล่องเก็บฝุ่นออกมาเททิ้ง อย่าให้สะสมจนเต็ม เพราะ มอเตอร์ต้องทำงานหนักขึ้น อาจทำให้มอเตอร์ไหม้ได้ และยังทำให้การใช้ไฟฟ้าสิ้นเปลืองขึ้น
- ใช้หัวดูดฝุ่นให้เหมาะกับลักษณะฝุ่นหรือสถานที่ เช่น หัวดูดชนิดปากปลาย แหลมจะใช้กับบริเวณที่เป็นซอกเล็กๆ หัวดูดที่แปรง ใช้กับโคมไฟ เพดาน กรอบรูป เป็นต้น ถ้าใช้ผิดประเภท จะทำให้ประสิทธิภาพการดูดลดลง สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
- ก่อนดูดฝุ่นควรตรวจสอบข้อต่อของท่อดูดหรือชิ้นส่วนต่างๆ
ให้แน่น มิฉะนั้น อาจเกิดการรั่วของอากาศ ประสิทธิภาพของเครื่องจะลดลง และมอเตอร์อาจทำงานหนักและใหม้ได้
การดูแลรักษา
- หมั่นทำความสะอาดส่วนต่างๆ ของเครื่องให้สะอาด และอย่าให้มีสิ่งสกปรก เข้าไปทำให้อุดตัน โดยเฉพาะอย่างตัวกรองหรือตะแกรงกันเศษวัสดุมิให้เข้าสู่มอเตอร์ ควรทำความสะอาดโดยใช้ปรงถูเบาๆ และล้างน้ำ จากนั้นนำไปตากในที่ร่มให้แห้ง ไม่ควรใช้น้ำอุ่น ล้าง น้ำควรมีอุณหภูมิต่ำกว่า 45 องศาเซลเซียส
- หลังจากใช้งานเรียบร้อยแล้ว ควรนำไปวางในสถานที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อให้ มอเตอร์ระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า

1. เครื่องทำน้ำอุ่นแบบทำน้ำอุ่นได้จุดเดียว

2. เครื่องทำน้ำอุ่นแบบทำน้ำอุ่นได้หลายจุด ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากกว่าแบบ จุดเดียว
ส่วนประกอบและการทำงาน
เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้น้ำร้อนขึ้นโดยอาศัยการพากความร้อยจาก ขดลวดความร้อน (Heater) ขณะที่กระแสน้ำไหลผ่าน ส่วนประกอบหลักของเครื่องทำน้ำอุ่น คือตัวถังน้ำ ขดลวดความร้อน

ตัวถังน้ำ จะบรรจุน้ำซึ่งจะถูกทำให้ร้อน
ขดลวดความร้อน (Heater) จะร้อนขึ้นเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่าน คือ เมื่อเราเปิด สวิตซ์เครื่องทำน้ำอุ่นนั่นเอง ลวดความร้อนนี้โดยมากส่วนในสุดจะเป็นลวดนิโครม ส่วนที่อยู่ตรง กลางจะเป็นผงแมกนีเซียมออกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าและทนอุณหภูมิสูง ชั่น นอกสุดจะเป็นท่อโลหะที่อาจทำด้วยทองแดงหรือสเตนเลส
อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ลวดความร้อนเมือ่อุณหภูมิของน้ำถึงระดับที่เราตั้งไว้
การใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี

- ควรพิจารณาเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นให้เหมาะสมกับการใช้เป็นหลัก เช่น ต้องการ ใช้น้ำอุ่นเพื่ออาบน้ำเท่านั้นก็ควรจะติดตั้งชนิดทำน้ำอุ่นได้จุดเดียว
- ควรเลือกใช้ฝักบัวชนิดประหยัดน้ำ (Water Efficient Showerhead)เพราะ สามารถประหยัดน้ำได้ถึงร้อยละ 25-75
- ควรเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีถังน้ำภายในตัวเครื่องและมีฉนวนหุ้ม เพราะ สามารถลดการใช้พลังงานได้ร้อยละ 10-20
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าชนิดที่ไม่มีถังน้ำภายในเพราะจะทำให้สิ้น เปลืองการใช้พลังงาน
- ปิดวาล์วน้ำและสวิตซ์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน
การดูแลรักษา
ควรหมั่นตรวจสอบการทำงานของเครื่องให้มีสภาพดีอยู่เสมอ ตลอดจนตรวจดูระบบท่อ น้ำและรอยต่ออย่าให้มีการรั่วซึมและเมื่อเครื่องมีปัญหาตวรตรวจสอบ ดังนี้
- ถ้าน้ำที่ออกจากเครื่องน้ำเย็น อันเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ขดลวดความร้อน สาเหตุอาจเกิดจากฟิวส์ขาด อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้ไฟผ่าน
- ถ้าไฟสัญญานติดแต่ขดลวดความร้อนไม่ทำงาน น้ำไม่อุ่น สาเหตุอาจเกิดจากขดลวด ความร้อนขาด อุปกณ์ควบคุมอุณหภูมิเสีย
- ถ้าน้ำจากเครื่องร้อนหรือเย็นเกินไป สาเหตุอาจเกิดจากอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิทำงาน ผิดปกติ

โทรทัศน์
โทรทัศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โทรทัศน์ขาวดำ (Black and White Tele-vision) และโทรทัศน์สี (Color Televsion) สำหรับโทรทัศน์สียังสามารถแบ่งได้อีกหลายประเภท เช่น โทรทัศน์สีทั่วไป โทรทัศน์สีที่ใช้ระบบรีโมทคอนโทรล (Remote Control) โทรทัศน์สีที่ มีจอภาพแบบโค้งและแบบจอแบน โทรทัศน์สีมีขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ที่ติด ตั้งบริเวณหน้ารถยนต์หรือขนาด 14 นิ้วและ 20 นิ้ว เป็นต้น ตลอดจนขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งบาง คนนิยมเรียกกันว่า Home Theater จะมีราคาสูงมาก
ขนาดของโทรทัศน์ เช่น 14 นิ้ว หรือ 20 นิ้ว นี้ดูได้จากการวัดทแยงจากมุมหนึ่ง ไปยังอีกมุมหนึ่งของหน้าจอโทรทัศน์
ส่วนประกอบและการทำงาน
โทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีวงจรสลับซับซ้อน ดังนั้นส่วนประกอบ ของโทรทัศน์จึงพอสรุปให้เห็นได้ชัดเจนดังนี้ คือ

2. ส่วนประกอบภายใน คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวรับ-เปลี่ยนสัญญาณของ ภาพและเสียงที่มาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนประกอบของจอภาพและระบบเสียง รวมทั้งลำโพง เป็นต้น
การทำงานของโทรทัศน์นั้นจะเริ่มต้นจากเมื่อคลื่นของภาพและเสียงที่ออกมาจาก แหล่งกำเนิด เช่นสถานีโทรทัศน์

การเปลี่ยนสัญญาณคลื่นเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ขั้วของหลอดภาพจะก่อให้เกิดลำ อิเล็กตรอนวิ่งจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง คือ จอภาพที่ด้านในเคลือบสารชนิดหนึ่ง เมื่อลำอิเล็กทรอนิกส์วิ่งไปกระทบจอภาพก็ทำให้เกิดเป็นภาพโดยการถ่ายเทพลังงานในลักษณะนิ่ง เรียกว่าการวาดภาพ โดยกวาดเป็นเส้นทางตามแนวนอนจำนวน 525 เส้น หรือแบบ 625 เส้น ก่อให้เกิดรูปภาพออกมาทางด้านหน้าของจอภาพตามที่เราเห็นอันเนื่องจากการเรืองของ สารเคลือบนั้น
การเลือกใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน
- การเลือกใช้โทรทัศน์ควรคำนึงถึงความต้องการใช้งาน โดยพิจารณาจากขนาดและการใช้กำลังไฟฟ้า
- โทรทัศน์สีระบบเดียวกันแต่ขนาดต่างกัน จะใช้พลังงานต่างกันด้วย กล่าวคือ
โทรทัศน์สีที่มีขนาดใหญ่และมีราคาแพงกว่า จะใช้กำลังไฟมากกว่าโทรทัศน์สี ขนาดเล็ก เช่น
- ระบบทั่วไป ขนาด 16 นิ้ว จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า ขนาด 14 นิ้ว ร้อยละ 5 หรือ
- ขนาด 20 นิ้ว จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า ขนาด 14 นิ้ว ร้อยละ 30
- ระบบรีโมทคอนโทรล ขนาด 16 นิ้ว จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า ขนาด 14 นิ้ว ร้อยละ5
- หรือขนาด 20 นิ้ว จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า ขนาด 14 นิ้ว ร้อยละ 34
- โทรทัศน์สีที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าโทรทัศน์สีระบบทั่วไป ที่มีขนาดเดียวกัน เช่น
- โทรทัศน์สีขนาด 16 นิ้ว ระบบรีโมทคอนโทรลเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าระบบธรรมดา ร้อยละ 5
- โทรทัศน์สีขนาด 20 นิ้ว ระบบรีโมทคอนโทรลเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าระบบธรรมดา ร้อยละ 18
- อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ เพราะโทรทัศน์จะมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงระบบภายในอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่ฟ้าแลบได้
-

- ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องเล่นวิดีโอในขณะที่ยังไม่ต้องการใช้ เพราะเครื่องเล่นวิดีโอ จะทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เสียค่าไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น

- พิจารณาเลือกดูรายการเอาไว้ล่วงหน้า ดูเฉพาะรายการที่เลือกตามช่วงเวลานั้นๆหากดูรายการเดียวกันควรเปิดโทรทัศน์เพียงเครื่องเดียว
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาและใช้โทรทัศน์ให้ถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้โทรทัศน์เกิดความคง ทน ภาพที่ได้ชัดเจน และมีอายุการทำงานยาวนานขึ้นแล้ว ผลพลอยได้อีกส่วนหนึ่งก็คือ ประหยัดพลังงาน
- ควรเลือกใช้เสาอากาศภายนอกบ้านที่มีคุณภาพดี และติดตั้งถูกต้องตามหลัก วิชาการ เช่น หันเสาไปทางที่ตั้งของสถานีในลักษณะให้ตั้งฉาก เป็นต้น
- ควรวางโทรทัศน์ไว้ในจุดที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี และตั้งห่างจากผนังหรือ มูลี่อย่างน้อยประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อให้เครื่องสามารถระบายความร้อนได้สะดวก
- ไม่ควรปรับจอภาพให้สว่างมากเกินไป เพราะจะทำให้หลอดภาพมีอายุสั้น และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น

- อย่าถอดด้านหลังของเครื่องด้วยตนเอง เพราะอาจจะเกิดความเสียหายต่อ โทรทัศน์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรทัศน์สีจะผลิตกระแสไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage) ซึ่งเป็นอันตรายต่อการสัมผัส แม้ว่าจะปิดไฟแล้วก็ตาม

พัดลม
พัดลมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ พัดลมตั้งโต๊ะ พัดลมตั้งพื้น พัดลมติดผนัง ซึ่งทั้งหมดมีหลักของการทำงานคล้ายคลึงกัน
- ส่วนประกอบหลักของพัดลม แบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ใบพัดและตะแกรง คลุมใบพัด มอเตอร์ไฟฟ้า สวิตซ์ควบคุมการทำงาน และกลไกที่ทำให้พัดลมหยุดกับที่หรือ หมุนส่ายไปมา
- พัดลมจะทำงานได้เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ และเมื่อกดปุ่มเลือกให้ลมแรงหรือ เร็วตามที่ผู้ใช้ต้องการ กระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ตัวมอเตอร์ ทำให้แกนมอเตอร์หมุ่น ใบพัดที่ติดอยู่กับแกนก็จะหมุนตามไปด้วยจึงเกิดลมพัดออกมา
การใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี
พัดลมตั้งโต๊ะจะมีราคาต่ำกว่าพัดลมตั้งพื้น และใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะ มีขนาดมอเตอร์และกำลังไฟต่ำกว่า แต่พัดลมตั้งพื้นจะให้ลมมากกว่า ดังนั้นในการเลือกใช้ จึงมีข้อที่ควรพิจารณาดังนี้
- พิจารณาตามความต้องการและสถานที่ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้เพียงคนเดียว หรือ ไม่เกิน 2 คน ควรใช้พัดลมตั้งโต๊ะ
- อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ โดยเฉพาะพัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรล เพราะจะมี ไฟฟ้าไหลเข้าตลอดเวลา เพื่อหล่อเลี้ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- ควรเลือกใช้ความแรงหรือความเร็วของลมให้เหมาะสมกับความต้องการและสถาน ที่ เพราะหากความแรงของลมมากขึ้นจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
- เมื่อไม่ต้องการใช้พัดลมควรรีบปิด เพื่อให้มอเตอร์ได้มีการพักและไม่เสื่อมสภาพ เร็วเกินไป
- ควรวางพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศจาก บริเวณรอบๆ ทางด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า เช่น ถ้าอากาศบริเวณรอบ พัดลมอับซื้น ก็จะได้ในลักษณะลมร้อนและอับชื้นเช่นกัน นอกจากนี้มอเตอร์ยังระบายความ ร้อนได้ดีขึ้น ไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป

การดูแลรักษาพัดลมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้พัดลมทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และ ยังช่วยยือดอายุการทำงานให้ยาวนานขึ้น โดยมีวิธีการดังนี้
- หมั่นทำความสะอาดตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบพัดและตะแกรงครอบ ใบพัด อย่าให้ฝุ่นละอองเกาะจับและต้องดูแลให้มีสภาพดีอยู่เสมอ อย่าให้แตกหักหรือชำรุด หรือโค้งงอผิดสัดส่วนจะทำให้ลมที่ออกมามีความแรงหรือความเร็วลดลง
- หมั่นทำความสะอาดช่องลมตรงฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบาย ความร้อนของมอเตอร์ อย่าให้มีคราบน้ำมันหรือฝุ่นละอองเกาะจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิ ภาพของมอเตอร์ลดลง และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ประโยชน์ในการต้มน้ำให้ร้อนเพื่อใช้ดื่ม และจัดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าสูงตัวหนึ่งเดช่นเดียวกับเตารีดไฟฟ้า โดยอาศัยหลัการทำงานเดียวกันคือ ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความร้อนที่อยู่ภายในอุปกรณ์ แล้ว นำความร้อนนั้นไปใช้ประโยชน์ เช่น กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าใช้ต้มน้ำร้อน ส่วนเตารีดไฟฟ้าใช้ใน การรีดผ้าให้เรียบ ซึ่งกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าโดยทั่วไปจะมีขนาดที่ใช้ำลังไฟฟ้าระหว่าง 500-1,300 วัตต์ ดังนั้นหากเรารู้จักใช้อย่างถูกวิธีก็จะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าลงได้

ส่วนประกอบหลักของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ประกอบด้วยขดลวดความร้อน (Heater) อยู่ด้านล่างของตัวกระติก และอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) เป็นอุปกรณ์ควบคุม การทำงาน
- หลักการทำงานของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าคือ เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความ ร้อนจะเกิดความร้อน ความร้อนจะถ่ายเทไปยังน้ำภายในกระติก ซึ่งจะทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูง ขึ้นจนถึงจุดเดือด อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะตัดกระแสไฟฟ้าในวงจรหลักออกไป แต่ยังคงมี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความร้อนบางส่วน โดยไหลผ่านหลอดไฟสัญญาณอุ่น ในช่วงนี้จะ เป็นการอุ่นน้ำ เมื่ออุณหภูมิของน้ำร้อนภายในกระติกลดลงจนถึงจุดๆ หนึ่ง อุปกรณ์ควบคุม อุณหภูมิจะทำงานโดยปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความร้อนเต็มที่ ทำให้น้ำเดือดอีกครั้ง
- การปล่อยน้ำออกจากกาทำได้โดยกดที่ฝากดอากาศซึ่งอยู่ทางด้านบนของกา อากาศ จะถูกอัดเข้าไปภายในกา โดยผ่านทางรูระบายอากาศของฝาปิดภายในของกา ดังนั้นภายในกาจึง มีแรงกดดันที่มากพอที่จะให้น้ำที่อยู่ภายในวิ่งขึ้นไปตามท่อและออกทางพวยกาได้
การใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี
- ควรเลือกซื้อรุ่นที่มีฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพ
- ใส่น้ำให้พอเหมาะกับความต้องการหรือไม่สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ เพราะนอกจาก ไม่ประหยัดพลังงานยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระติก

- ระวังอย่าให้น้ำแห้งหรือปล่อยให้ระดับน้ำต่ำกว่าขีดกำหนด เพราะเมื่อน้ำแห้ง จะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในกระติกน้ำร้อน เป็นอันตรายอย่างยิ่ง
- ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้น้ำร้อนแล้ว เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ไม่ควรเสียบปลั๊ก ตลอดเวลา ถ้าไม่ต้องการใช้น้ำแล้ว แต่ถ้าหากมีความต้องการใช้น้ำร้อนเป็นระยะๆ ติดต่อกัน เช่น ในสถานที่ทำงานบางแห่งที่มีน้ำร้อนไว้สำหรับเตรียมเครื่องดื่มต้อนรับแขกก็ไม่ควรดึง ปลั๊กออกบ่อยๆ เพราะทุกครั้งเมื่อดึงปลั๊กออกอุณหภูมิของน้ำจะค่อยๆ ลดลง กระติกน้ำร้อน ไม่สามารถเก็บความร้อนได้นาน เมื่อจะใช้งานใหม่ก็ต้องเสียบปลั๊กและเริ่มทำการต้มน้ำใหม่ เป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน
- ไม่ควรเสียบปลั๊กตลอดเวลา ถ้าไม่ต้องการใช้น้ำร้อนแล้ว
- อย่านำสิ่งใดๆ มาปิดช่องไอน้ำออก
- ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในสภาพใช้งานได้เสมอ
- ไม่ควรตั้งไว้ในห้องที่มีการปรับอากาศ
การดูแลรักษา
การดูแลรักษากระติกน้ำร้อนให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น และลดการใช้พลังงานลง และป้องกันอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ มีวิธีการดังนี้
- หมั่นตรวจดูสายไฟฟ้าและขั้วปลั๊ก ซึ่งมักเป็นจุดที่ขัดข้องเสมอ
- ควรต้มน้ำที่สะอาดเท่านั้น มิฉะนั้นผิวในกระติกอาจเปลี่ยนสี เกิดคราบสนิม และตะกรัน
- หมั่นทำความสะอาดตัวกระติกด้านใน อย่าให้มีคราบตะกรัน เพราะจะเป็นตัวต้าน ทานการถ่ายเทความร้อนจากขดลวดความร้อนไปสู่น้ำ เพิ่มเวลาการต้มน้ำและสูญเสียพลังงาน โดยเปล่าประโยชน์
- เมื่อไม่ต้องการใช้กระติก ควรล้างกระติกด้านในให้สะอาดแล้วคว่ำกระติกลงเพื่อให้ น้ำออกจากตัวกระติก แล้วใช้ผ้าเช็ดด้านในให้แห้ง
- ก่อนทำความสะอาดด้านในกระติก ควรเทน้ำภายในออกให้หมด รอให้ตัวกระติก เย็นจึงค่อยทำความสะอาด
- ควรทำความสะอาดส่วนต่างๆ ของกระติก ตามคำแนะนำต่อไปนี้ ตัวและฝากระติก ใช้ผ้าชุบน้ำ บิดให้หมาดแล้วเช็ดอย่างระมัดระวัง ฝาปิดด้านใน ใช้น้ำหรือน้ำยาล้างจานให้สะอาด ตัวกระติกด้านใน ใช้ฟองน้ำชุบเช็ดให้ทั่ว ล้างให้สะอาดด้วยน้ำ เทน้ำที่ใช้ล้างออกให้ หมด อย่าราดน้ำลงบนส่วนอื่นของตัวกระติกนอกจากภายในกระติกเท่านั้น อย่าใช้ของมีคม หรือฝอยขัดหม้อขูดหรือขัดตัวกระติกด้านใน เพราะจะทำให้สารเคลือบหลุดได้

เครื่องดูดฝุ่นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะหรือการใช้งาน ดังนี้
1. แบ่งตามรูปทรงหรือโครงสร้าง มี 3 แบบ คือ

- แบบดูดฝุ่นโดยตรง จะดูดฝุ่นจากพื้นเข้าเครื่องโดยตรง เหมาะที่จะใช้ดูดฝุ่น บนพื้นในบริเวณกว้างๆ
- แบบทรงกระบอก เป็นเครื่องขนาดเล็กใช้กับการดูดฝุ่นที่มีน้อย สามารถ ถือหรือหิ้วไปมาได้สะดวก เหมาะที่จะใช้ในบ้านเรือนและรถยนต์
- แบบกระป๋อง ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป จะมีล้อสำหรับเคลื่อนย้ายในขณะทำ การดูดฝุ่น ใช้กับงานที่ฝุ่นมาก

2. แบ่งตามลักษณะการดูดฝุ่น มี 3 แบบ
- ดูดฝุ่นเข้าเครื่องโดยตรง โดยเครื่องไม่ได้ทำให้ฝุ่นกระจายก่อนดูดเข้า เครื่อง ผู้ผลิตบางรายอาจผลิตแปรงติดที่ปลายท่อดูด เพื่อให้ดูดฝุ่นได้มีประสิทธิภาพขึ้น เครื่องดูดฝุ่นแบบนี้ได้แก่ชนิดทรงกระบอกและแบบกระป๋อง
- ดูดฝุ่นแบบสั่นสะเทือน เครื่องจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายก่อน แล้วจึงค่อยดูด เข้าเครื่อง ที่ช่องทางดูดฝุ่นจะมีแกนหมุนซึ่งมีแปรงและบ่านูนหรือแท่งที่เกิดจากการสั่นสะเทือนใน ขณะทำงาน ทำให้เหมาะกับการดูดฝุ่นที่ติดอยู่ในพรมปูพื้นหนาๆ ได้เป็นอย่างดี
- ดูดฝุ่นแบบแปรงหมุน จะมีลักษณะคล้ายแบบสั่นสะเทือนแต่ไม่มีบ่านูน แต่จะมีขนแปรงอยู่โดยรอบแกนหมุน เพื่อช่วยให้ฝุ่นที่เกาะตามพื้นหลุด และกระจายออกก่อนที่จะ ถูกดูดเข้าเครื่อง เหมาะที่จะใช้ดูดฝุ่นบนพรมที่ไม่หนามากนัก
ส่วนประกอบและการทำงาน

เครื่องดูดฝุ่นจะเริ่มทำงานเมื่อเปิดสวิตซ์พัดลมดูด ซึ่งจะดูดเอาฝุ่นละอองเข้ามาตาม ท่อดูด และถูกเก็บที่ถุงเก็บหรือกล่องเก็บฝุ่น เครื่องดูดฝุ่นชนิดที่ทำความสะอาดพื้น จะมีแปรงปัดฝุ่นช่วยในการปัดฝุ่นให้กระจายขึ้นจากพื้น เพื่อให้ดูดฝุ่นได้สะดวกขึ้น
การใช้อย่างประหยัดพลังงานแและถูกวิธี
- ควรเลือกขนาดของเครื่องตามความจำเป็นในการใช้งาน - วัสดุที่เป็นพรมหรือผ้าซึ่งฝุ่นสามารถเกาะอย่างแน่นหนา ควรใช้เครื่องที่มีขนาด กำลังไฟฟ้ามาก (Heavy Duty) ส่วนบ้านเรือนที่เป็นพื้นไม้ พื้นปูน หรือหินอ่อนที่ง่ายต่อการ ทำความสะอาด เพราะฝุ่นละอองไม่เกาะติดแน่น ก้ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำ ซึ่งจะไม่สิ้นเปลืองการใช้ไฟฟ้า
- ควรหมั่นถอดตัวกรองหรือตะแกรงดักฝุ่นออกมาทำความสะอาด เพราะถ้เกิด การอุดตัน นอกจากจะทำให้ลดประสิทธิภาพการดูด ดูดฝุ่นไม่เต็มที่ และเพิ่มเวลาการดูดฝุ่น เป็นการเพิ่มปริมาณการใช้ไฟฟ้าของมอเตอร์ที่ต้องทำงานหนักและอาจไหม้ได้
- ควรใช้ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อเป็นการระบายความร้อนของตัวมอเตอร์

- ควรหมั่นถอดถุงผ้าหรือกล่องเก็บฝุ่นออกมาเททิ้ง อย่าให้สะสมจนเต็ม เพราะ มอเตอร์ต้องทำงานหนักขึ้น อาจทำให้มอเตอร์ไหม้ได้ และยังทำให้การใช้ไฟฟ้าสิ้นเปลืองขึ้น
- ใช้หัวดูดฝุ่นให้เหมาะกับลักษณะฝุ่นหรือสถานที่ เช่น หัวดูดชนิดปากปลาย แหลมจะใช้กับบริเวณที่เป็นซอกเล็กๆ หัวดูดที่แปรง ใช้กับโคมไฟ เพดาน กรอบรูป เป็นต้น ถ้าใช้ผิดประเภท จะทำให้ประสิทธิภาพการดูดลดลง สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
- ก่อนดูดฝุ่นควรตรวจสอบข้อต่อของท่อดูดหรือชิ้นส่วนต่างๆ

การดูแลรักษา
- หมั่นทำความสะอาดส่วนต่างๆ ของเครื่องให้สะอาด และอย่าให้มีสิ่งสกปรก เข้าไปทำให้อุดตัน โดยเฉพาะอย่างตัวกรองหรือตะแกรงกันเศษวัสดุมิให้เข้าสู่มอเตอร์ ควรทำความสะอาดโดยใช้ปรงถูเบาๆ และล้างน้ำ จากนั้นนำไปตากในที่ร่มให้แห้ง ไม่ควรใช้น้ำอุ่น ล้าง น้ำควรมีอุณหภูมิต่ำกว่า 45 องศาเซลเซียส
- หลังจากใช้งานเรียบร้อยแล้ว ควรนำไปวางในสถานที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อให้ มอเตอร์ระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน